การเกิดมาเป็นมนุษย์เป็นของยาก เกิดมาครบ 32 ประการ เกิดมาพบพระพุทธศาสนาและมีศรัทธาก็ยาก เกิดมาได้มาเจอครูบาอาจารย์ที่แสนประเสริฐ ผู้เป็นที่เคารพรักยิ่งอันสูงสุดของลูกศิษย์ทั่วโลก พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ ยิ่งยากกว่ายากมากๆ ท่านเมตตาแนะนำคำสอนอันประเสริฐในการ ทำให้เราดำเนินชีวิตอย่างมีสติและไม่ประมาทในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติ
มีปัญญาแก้ปัญหาทุกอย่างให้ผ่านไปด้วยดี คือ การทำสมาธิ นั่นเอง
สมาธิคือความสงบความมีสติสัมปชัญญะและเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญาอันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนดเอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิตทุกวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ ดังวิธีปฏิบัตินี้
วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น
1. กราบบูชาพระรัตนตรัย เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้นุ่มนวลไว้เป็นเบื้องต้น แล้วสมาทานศีล 5 หรือศีล 8 เพื่อย้ำความมั่นคงในคุณธรรมของตนเอง
2. คุกเข่าหรือนั่งพับเพียบสบายๆ ระลึกถึงความดี ที่ได้กระทำแล้วในวันนี้ ในอดีต และที่ตั้งใจจะทำต่อไปในอนาคตจนราวกับว่าร่างกายทั้งหมด ประกอบขึ้นด้วยธาตุแห่งคุณงามความดีล้วนๆ
3. นั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ขวาจรดหัวแม่มือซ้าย นั่งให้อยู่ในจังหวะพอดี ไม่ฝืนร่างกายมากจนเกินไป ไม่ถึงกับเกร็ง แต่อย่าให้หลังโค้งงอ หลับตาพอสบายคล้ายกับกำลังพักผ่อน ไม่บีบกล้ามเนื้อตาหรือว่า
ขมวดคิ้ว แล้วตั้งใจมั่นวางอารมณ์สบาย สร้างความรู้สึกให้พร้อมทั้งกายและใจ ว่ากำลังจะเข้าไปสู่ภาวะแห่งความสงบสบายอย่างยิ่ง
4. นึกกำหนดนิมิต เป็น “ดวงแก้วกลมใส" ขนาดเท่าแก้วตา ใสสนิทปราศจากราคี หรือรอยตำหนิใดๆ ขาวใสเย็นตาเย็นใจ ดังประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้เรียกว่าบริกรรมนิมิต นึกสบายๆ นึกเหมือนดวงแก้วนั้นมานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ดนึกไปภาวนาไปอย่างนุ่มนวลเป็นพุทธาสบายๆ นุสติว่า “สัมมาอะระหัง” หรือค่อยๆน้อมนึกดวงแก้ว กลมใสให้ค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกายตามแนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฐานที่หนึ่งเป็นต้นไป น้อมด้วยการนึกอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ไปพร้อมๆ กับคำภาวนา
อนึ่งเมื่อนิมิตดวงใส และกลมสนิท ปรากฏแล้ว ณ กลางกาย ให้วางอารมณ์สบายๆกับนิมิตนั้น จนเหมือนกับว่าดวงนิมิตเป็นส่วนหนึ่งของอารมย์ หากดวงนิมิตนั้นอันตรธานหายไป ก็ไม่ต้องนึกเสียดายให้วางอารมณ์สบายแล้วนึกนิมิตนั้นขึ้นมาใหม่แทนดวงเก่า หรือเมื่อนิมิตนั้นไปปรากฏที่อื่น ที่มิใช่ศูนย์กลางกาย ให้ค่อยๆ น้อมนิมิตเข้ามาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีการบังคับและเมื่อนิมิตมาหยุดสนิท ณ ศูนย์กลางกาย ให้วางสติลงไปยังจุดศูนย์กลางของดวงนิมิต ด้วยความรู้สึกคล้ายมีดวงดาวดวงเล็กๆ อีกดวงหนึ่งซ้อนอยู่ตรงกลางดวงนิมิตดวงเดิม แล้วสนใจเอาใจใส่แต่ดวงเล็กๆ ตรงกลางนั้นไปเรื่อยๆ ใจจะปรับจนหยุดได้ถูกส่วน แล้วจากนั้นทุกอย่างจะค่อยๆ ปรากฏให้เห็นได้ด้วยตนเอง เป็นภาวะของดวงกลม ที่ทั้งใสทั้งสว่างผุดซ้อนขึ้นมาจากกึ่งกลางดวงนิมิต ตรงที่เราเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ
ดวงนี้เรียกว่า “ดวงธรรม” หรือ “ดวงปฐมมรรค” อันเป็นประตูเบื้องต้นที่จะเปิดไปสู่หนทางแห่งมรรคผลนิพพาน การระลึกนึกถึงนิมิตหรือดวงปฐมมรรคสามารถทำได้ในทุกแห่งทุกที่ ทุกอิริยาบถ เพราะดวงธรรมนี้คือที่พึ่งอันเป็นที่สุดแล้วของมนุษย์
ข้อแนะนำ
คือ ต้องทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ ทำเรื่อยๆ ทำอย่างสบายๆ ไม่เร่ง ไม่บังคับ ทำได้แค่ไหนให้พอใจแค่นั้น อันจะเป็นเครื่องสกัดกั้นมิให้เกิดความอยากจนเกินไป จนถึงกับทำให้ใจสูญเสียความเป็นกลาง และเมื่อการปฏิบัติบังเกิดผลแล้วให้หมั่นตรึกระลึกถึงอยู่เสมอ จนกระทั่งดวงปฐมมรรคกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับลมหายใจ หรือนึกเมื่อใดเป็นเห็นได้ทุกที
อย่างนี้แล้ว ผลแห่งสมาธิจะทำให้ชีวิตดำรงอยู่บนเส้นทางแห่งความสุข ความสำเร็จ และความไม่ประมาทได้ตลอลไป ทั้งยังจะทำให้สมาธิละเอียดอ่อนก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ได้อีกด้วย
มีปัญญาแก้ปัญหาทุกอย่างให้ผ่านไปด้วยดี คือ การทำสมาธิ นั่นเอง
สมาธิคือความสงบความมีสติสัมปชัญญะและเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญาอันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนดเอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิตทุกวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ ดังวิธีปฏิบัตินี้
วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น
1. กราบบูชาพระรัตนตรัย เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้นุ่มนวลไว้เป็นเบื้องต้น แล้วสมาทานศีล 5 หรือศีล 8 เพื่อย้ำความมั่นคงในคุณธรรมของตนเอง
2. คุกเข่าหรือนั่งพับเพียบสบายๆ ระลึกถึงความดี ที่ได้กระทำแล้วในวันนี้ ในอดีต และที่ตั้งใจจะทำต่อไปในอนาคตจนราวกับว่าร่างกายทั้งหมด ประกอบขึ้นด้วยธาตุแห่งคุณงามความดีล้วนๆ
3. นั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ขวาจรดหัวแม่มือซ้าย นั่งให้อยู่ในจังหวะพอดี ไม่ฝืนร่างกายมากจนเกินไป ไม่ถึงกับเกร็ง แต่อย่าให้หลังโค้งงอ หลับตาพอสบายคล้ายกับกำลังพักผ่อน ไม่บีบกล้ามเนื้อตาหรือว่า
ขมวดคิ้ว แล้วตั้งใจมั่นวางอารมณ์สบาย สร้างความรู้สึกให้พร้อมทั้งกายและใจ ว่ากำลังจะเข้าไปสู่ภาวะแห่งความสงบสบายอย่างยิ่ง
4. นึกกำหนดนิมิต เป็น “ดวงแก้วกลมใส" ขนาดเท่าแก้วตา ใสสนิทปราศจากราคี หรือรอยตำหนิใดๆ ขาวใสเย็นตาเย็นใจ ดังประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้เรียกว่าบริกรรมนิมิต นึกสบายๆ นึกเหมือนดวงแก้วนั้นมานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ดนึกไปภาวนาไปอย่างนุ่มนวลเป็นพุทธาสบายๆ นุสติว่า “สัมมาอะระหัง” หรือค่อยๆน้อมนึกดวงแก้ว กลมใสให้ค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกายตามแนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฐานที่หนึ่งเป็นต้นไป น้อมด้วยการนึกอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ไปพร้อมๆ กับคำภาวนา
อนึ่งเมื่อนิมิตดวงใส และกลมสนิท ปรากฏแล้ว ณ กลางกาย ให้วางอารมณ์สบายๆกับนิมิตนั้น จนเหมือนกับว่าดวงนิมิตเป็นส่วนหนึ่งของอารมย์ หากดวงนิมิตนั้นอันตรธานหายไป ก็ไม่ต้องนึกเสียดายให้วางอารมณ์สบายแล้วนึกนิมิตนั้นขึ้นมาใหม่แทนดวงเก่า หรือเมื่อนิมิตนั้นไปปรากฏที่อื่น ที่มิใช่ศูนย์กลางกาย ให้ค่อยๆ น้อมนิมิตเข้ามาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีการบังคับและเมื่อนิมิตมาหยุดสนิท ณ ศูนย์กลางกาย ให้วางสติลงไปยังจุดศูนย์กลางของดวงนิมิต ด้วยความรู้สึกคล้ายมีดวงดาวดวงเล็กๆ อีกดวงหนึ่งซ้อนอยู่ตรงกลางดวงนิมิตดวงเดิม แล้วสนใจเอาใจใส่แต่ดวงเล็กๆ ตรงกลางนั้นไปเรื่อยๆ ใจจะปรับจนหยุดได้ถูกส่วน แล้วจากนั้นทุกอย่างจะค่อยๆ ปรากฏให้เห็นได้ด้วยตนเอง เป็นภาวะของดวงกลม ที่ทั้งใสทั้งสว่างผุดซ้อนขึ้นมาจากกึ่งกลางดวงนิมิต ตรงที่เราเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ
ดวงนี้เรียกว่า “ดวงธรรม” หรือ “ดวงปฐมมรรค” อันเป็นประตูเบื้องต้นที่จะเปิดไปสู่หนทางแห่งมรรคผลนิพพาน การระลึกนึกถึงนิมิตหรือดวงปฐมมรรคสามารถทำได้ในทุกแห่งทุกที่ ทุกอิริยาบถ เพราะดวงธรรมนี้คือที่พึ่งอันเป็นที่สุดแล้วของมนุษย์
ข้อแนะนำ
คือ ต้องทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ ทำเรื่อยๆ ทำอย่างสบายๆ ไม่เร่ง ไม่บังคับ ทำได้แค่ไหนให้พอใจแค่นั้น อันจะเป็นเครื่องสกัดกั้นมิให้เกิดความอยากจนเกินไป จนถึงกับทำให้ใจสูญเสียความเป็นกลาง และเมื่อการปฏิบัติบังเกิดผลแล้วให้หมั่นตรึกระลึกถึงอยู่เสมอ จนกระทั่งดวงปฐมมรรคกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับลมหายใจ หรือนึกเมื่อใดเป็นเห็นได้ทุกที
อย่างนี้แล้ว ผลแห่งสมาธิจะทำให้ชีวิตดำรงอยู่บนเส้นทางแห่งความสุข ความสำเร็จ และความไม่ประมาทได้ตลอลไป ทั้งยังจะทำให้สมาธิละเอียดอ่อนก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ได้อีกด้วย
ข้อควรระวัง
1. อย่าใช้กำลัง คือ ไม่ใช้กำลังโดๆ ทั้งสิ้น เช่นไม่บีบกล้ามเนื้อตา เพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็วๆ ไม่เกร็งแขน ไม่เกร็งกล้ามเนื้อ หน้าท้อง ไม่เกร็งตัว ฯลฯ เพราะการใช้กำลังตรงส่วนไหนของร่างกายก็ตาม จะทำให้จิตเคลื่อนจากศูนย์กลางกายไปสู่จุดนั้น
2. อย่าอยากเห็น คือทำใจให้เป็นกลาง ประคองสติมิให้เผลอจากบริกรรมภาวนาและบริกรรมนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิตเมื่อใดนั้น อย่ากังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง การบังเกิดของดวงนิมิตนั้น อุปมาเสมือนการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์เราไม่อาจจะเร่งเวลาได้
3.อย่ากังวลถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออก เพราะการฝึกสมาธิเจริญภาวนาวิชชาธรรมกาย อาศัยการเพ่ง “อาโลกกสิณ” คือกสิณความสว่าง เป็นบาทเบื้องต้น เมื่อเกิดนิมิตเป็นดวงสว่างแล้วค่อยเจริญวิปัสสนาในภายหลัง จึงไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดลมหายใจเข้าออกแต่ประการใด
4. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์กลางกายที่เดียว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืนก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดี หรือนั่งก็ดี อย่าย้ายฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อื่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจบริกรรมภาวนา พร้อมกับนึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใสควบคู่กันตลอดไป
5. นิมิตต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายทั้งหมด ถ้านิมิตที่เกิดขึ้นแล้วหายไป ก็ไม่ต้องตามหา ให้ภาวนาประคองใจต่อไปตามปกติในที่สุดเมื่อจิตสงบ นิมิตย่อมปรากฏขึ้นใหม่อีก
1. อย่าใช้กำลัง คือ ไม่ใช้กำลังโดๆ ทั้งสิ้น เช่นไม่บีบกล้ามเนื้อตา เพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็วๆ ไม่เกร็งแขน ไม่เกร็งกล้ามเนื้อ หน้าท้อง ไม่เกร็งตัว ฯลฯ เพราะการใช้กำลังตรงส่วนไหนของร่างกายก็ตาม จะทำให้จิตเคลื่อนจากศูนย์กลางกายไปสู่จุดนั้น
2. อย่าอยากเห็น คือทำใจให้เป็นกลาง ประคองสติมิให้เผลอจากบริกรรมภาวนาและบริกรรมนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิตเมื่อใดนั้น อย่ากังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง การบังเกิดของดวงนิมิตนั้น อุปมาเสมือนการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์เราไม่อาจจะเร่งเวลาได้
3.อย่ากังวลถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออก เพราะการฝึกสมาธิเจริญภาวนาวิชชาธรรมกาย อาศัยการเพ่ง “อาโลกกสิณ” คือกสิณความสว่าง เป็นบาทเบื้องต้น เมื่อเกิดนิมิตเป็นดวงสว่างแล้วค่อยเจริญวิปัสสนาในภายหลัง จึงไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดลมหายใจเข้าออกแต่ประการใด
4. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์กลางกายที่เดียว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืนก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดี หรือนั่งก็ดี อย่าย้ายฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อื่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจบริกรรมภาวนา พร้อมกับนึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใสควบคู่กันตลอดไป
5. นิมิตต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายทั้งหมด ถ้านิมิตที่เกิดขึ้นแล้วหายไป ก็ไม่ต้องตามหา ให้ภาวนาประคองใจต่อไปตามปกติในที่สุดเมื่อจิตสงบ นิมิตย่อมปรากฏขึ้นใหม่อีก
การฝึกสมาธิเพียงเพื่อให้เกิดความโล่งโปร่งเบา เป็นการพักผ่อนหลังจากการปฏิบัติหน้าที่ภารกิจประจำวัน โดยไม่ปรารถนาจะทำให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ ยังคิดอยู่ว่าการอยู่กับบุตรภรรยาการมีหน้ามีตาทางโลก การท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏสงสาร เป็นสุขกว่าการเข้านิพพาน เสมือนทหารเกณฑ์ที่ไม่คิดจะเอาดีในราชการอีกต่อไปแล้วนั่นเอง
การฝึกสมาธิเบื้องต้นเท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็พอเป็นปัจจัยให้เกิดสติมีปัญญาในการสอนตนเองให้เป็นผู้คิดพูดกระทำแต่สิ่งที่ดีงาม เมื่อปฏิบัติอยู่เสมอๆ ไม่ทอดทิ้ง จนสามารถได้เข้าถึงดวงปฐมมรรคแล้ว ก็ให้หมั่นประคองรักษาดวงปฐมมรรคนั้นไว้ตลอดชีวิต เป็นอันมั่นใจได้ว่าถึงอย่างไรชาตินี้มีที่พึ่งที่ดีเป็นหลักประกันได้ว่าเมื่อถึงคราหลับตาลาโลกจะได้สู่สวรรค์ และเป้าหมายมุ่งตรงสู่ฝั่งพระนิพพานดินแดนอันเกษมศาส์นในที่สุดแห่งกองทุกข์
การฝึกสมาธิเบื้องต้นเท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็พอเป็นปัจจัยให้เกิดสติมีปัญญาในการสอนตนเองให้เป็นผู้คิดพูดกระทำแต่สิ่งที่ดีงาม เมื่อปฏิบัติอยู่เสมอๆ ไม่ทอดทิ้ง จนสามารถได้เข้าถึงดวงปฐมมรรคแล้ว ก็ให้หมั่นประคองรักษาดวงปฐมมรรคนั้นไว้ตลอดชีวิต เป็นอันมั่นใจได้ว่าถึงอย่างไรชาตินี้มีที่พึ่งที่ดีเป็นหลักประกันได้ว่าเมื่อถึงคราหลับตาลาโลกจะได้สู่สวรรค์ และเป้าหมายมุ่งตรงสู่ฝั่งพระนิพพานดินแดนอันเกษมศาส์นในที่สุดแห่งกองทุกข์
ดังพุทธศาสนสุภาษิตความว่า
นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ.
ความสุข (อื่น) ยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี.
ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท (ขุ. ธ. 25/42)
กราบขอบพระคุณที่มาของบทความที่สมบูรณ์
หนังสือนิทานชาดก อันดับที่ 5 วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น
ภาพประกอบ หนังสือนิทานชาดก อันดับที่ 5 วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น
สาธุคะ
ตอบลบสาธุ ขอกราบอนุโมทนาบุญ
ตอบลบ