วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562

พิธีทอดกฐินสามัคคี...1ปีมีครั้งเดียวบุญใหญ่พลาดได้ไง!


3 พย. 62 เรียนเชิญร่วมพิธีทอดกฐินสามัคคี ณ วัดพระธรรมกาย

ช่วงหลังเทศกาลออกพรรษาภายใน 1 เดือน ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึง ขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 เป็นเดือนมหากุศล  วันนี้ขอถือโอกาสนำสาระความรู้ที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา   เพื่อเป็นหนทางแห่งการสร้างมหากุศลให้แก่ทุกท่านได้ทราบ คือ พิธีทอดกฐินสามัคคี  ค่ะ

การทอดกฐิน เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวพุทธ

การทอดกฐิน ประเพณีการทอดกฐิน และอานิสงส์แห่งบุญ
การทอดกฐินเป็นประเพณีอันดีงามของชาวพุทธ บุญทอดกฐินมีอานิสงส์มหาศาลทั้งผู้รับและผู้ให้ เป็นการนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำห้ารูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐิน

การทอดกฐิน และประเพณีทอดกฐินเป็นกาลทานจำกัดด้วยกาล
การทอดกฐิน เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวพุทธ

การทอดกฐิน และประเพณีทอดกฐิน


ประวัติการรับผ้ากฐิน และอานิงสงส์กฐิน
การทอดกฐินเป็นประเพณีอันดีงามของชาวพุทธที่ศาสนิกชนปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่สมัยพุทธกาลเป็นเวลายาวนานกว่า 2,500 ปี กำเนิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐออกเดินทางไกล เพื่อไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ วัดพระเชตวัน พระภิกษุเหล่านั้นมีจีวรที่เปรอะเปื้อนเปียกชุ่ม และเปื่อยขาดด้วยความเก่า พระบรมศาสดาจึงทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุอยู่จำพรรษารับผ้ากฐินได้หลังออกพรรษา เพื่อนำมาผลัดเปลี่ยนผ้าเก่า ประเพณีทอดกฐินได้เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งนั้นและสืบทอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน


การทอดกฐินเป็นบุญที่มีอานิสงส์มหาศาล

บุญจากการทอดกฐินเป็นบุญพิเศษ ที่ทำได้ยากกว่าบุญอื่น ด้วยสาเหตุหลายประการ ดังนี้ คือ

1.จำกัดด้วยเวลา คือต้องถวายภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันออกพรรษา
2.จำกัดชนิดทาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอื่นไม่ได้
3.จำกัดคราว คือ แต่ละวัดรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
4.จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุรับกฐินได้จะต้องจำพรรษาที่วัดนั้นครบไตรมาส (3 เดือน) และจะต้องมีจำนวนตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป
5.จำกัดงาน คือ เมื่อพระภิกษุรับผ้ากฐินแล้ว จะต้องกรานกฐินให้เสร็จภายในวันนั้น
6.จำกัดของถวาย คือ ไทยธรรมที่ถวายต้องเป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวรเท่านั้น โดยทั่วไปนิยมใช้สังฆาฏิ ไทยธรรมอื่นจัดเป็นบริวารกฐิน เกิดจากพุทธประสงค์ พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุสงฆ์รับผ้ากฐินเพื่อพลัดเปลี่ยนไตรจีวรเก่า แต่ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้อนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาต ถวายผ้าอาบน้ำฝน

ผ้ากฐิน โดยความหมายก็คือผ้าสำเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึง นิยมเรียกกันจนปัจจุบันนี้

การทอดกฐิน และประเพณีทอดกฐิน

การทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำ 5 รูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น

เขตกำหนดทอดกฐิน

การทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ( ปีนี้ทุกวัดเริ่มพิธีทอดกฐินตั้งแต่วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม ถึง วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2562 ) ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ไม่จัดเป็นการทอดกฐิน

แต่มีข้อยกเว้นพิเศษว่า ถ้าทายกผู้จะทอดกฐินนั้น มีกิจจำเป็น เช่น จะต้องไปในทัพ ไม่สามารถจะอยู่ทอดกฐินตามกำหนดนั้นได้ จะทอดกฐินก่อนกำหนดดังกล่าวแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอนุญาตให้ภิกษุรับไว้ก่อนได้ นอกจากนี้การทอดกฐินยังเป็นทานที่พิเศษ คือ ทั้งพระภิกษุและญาติโยมผู้ทอดกฐินได้อานิสงส์ด้วยกัน การทอดกฐินจึงเป็นบุญใหญ่ ที่ผู้ให้ (คฤหัสถ์) และผู้รับ (พระภิกษุสงฆ์) ต่างก็ได้บุญทั้ง 2 ฝ่าย

อานิสงส์กฐินสำหรับพระ

1.เที่ยวไปสู่ที่สงัด เพื่อแสวงหาที่ปฏิบัติธรรมได้ตามสะดวก โดยไม่ต้องบอกลา
2.เที่ยวไปได้ โดยไม่ต้องนำผ้าไตรจีวรไปครบสำรับ
3.ฉันคณะโภชนะได้ คือ ฉันภัตตาหารร่วมโต๊ะหรือร่วมวงฉันด้วยกันได้
4.ทรงอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา คือ รับผ้าจีวรได้มากผืน
5.จีวรที่เกิดขึ้น ณ ที่นั้นจักได้แก่พวกเธอ คือ หากได้ผ้าจีวรมาเพิ่มอีก ก็สามารถเก็บไว้ใช้ได้ไม่ต้องเข้าส่วนกลาง

การทำบุญทอดกฐินและการถวายผ้ากฐิน สิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำริขึ้นด้วยพระองค์เอง

ความหมายของคำว่า ทอดกฐิน

คำว่า กฐิน แปลว่า สะดึง หมายถึง ไม้ที่ใช้สำหรับขึงผ้าให้ตึง มีทั้งรูปสี่เหลี่ยม และรูปวงกลม เมื่อขึงผ้าด้วยสะดึงแล้วจะทำให้เย็บผ้าได้ง่ายขึ้น แต่ในอีกความหมายหนึ่งนั้น หมายเอาผ้าจีวรที่ถวายแด่พระสงฆ์ที่อยู่ประจำอารามจนครบพรรษา คำว่า ทอดกฐิน จึงหมายถึง การน้อมนำผ้าจีวรมาวางทอดลง เพื่อถวายแด่ภิกษุสงฆ์ มิได้เจาะจงแก่ภิกษุรูปใด เทศกาลทอดกฐินจะเรียกอีกแบบ คือ ฤดูกาลเปลี่ยนผ้าใหม่ของพระภิกษุ โดยในอดีตกาล ยุคต้นที่พระพุทธศาสนาเริ่มบังเกิดขึ้น ผ้าที่ภิกษุได้มานั้นเป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของหรือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าห่อศพในป่าช้า หรือผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามกองหยากเยื่อ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะผ้าในยุคนั้นเป็นของมีค่าหาได้ยาก การที่ภิกษุแสวงหาผ้าที่ไม่มีผู้หวงแหน นำมาใช้นุ่งห่ม จึงแสดงถึงความสันโดษมักน้อยของนักบวชผู้มุ่งแสวงหาทางหลุดพ้น

อีกประการหนึ่ง จะได้ไม่เป็นที่หมายปองของพวกโจร จะได้ไม่ถูกขโมยหรือถูกโจรปล้นชิงไป เพราะผู้คนในสมัยนั้น รังเกียจผ้าผุปะหรือผ้าเก่าๆ ถือว่าเป็นผ้าเสนียด จึงไม่มีใครอยากได้ แต่มาภายหลังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุรับผ้าที่คหบดีนำมาถวายได้ เนื่องจากหมอชีวกได้กราบทูลเพื่อที่จะถวายผ้าแด่พระภิกษุ เพราะเห็นว่าพระภิกษุทั้งหลายมีความลำบากในการแสวงหาผ้าเป็นอย่างยิ่ง

รูปแบบของจีวร

รูปแบบของจีวรนั้น เกิดขึ้นจากพระดำริของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวคือ ครั้งหนึ่ง พระองค์ทรงชี้ให้พระอานนท์แลดูคันนาของชาวมคธ และให้ออกแบบตัดเย็บโดยใช้แผ่นผ้าหลายชิ้นนำมาเย็บต่อๆ กันเป็นขันธ์ คล้ายคันนา เพื่อให้เป็นผ้ามีตำหนิไม่มีใครอยากได้ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติให้จีวรมีห้าขันธ์ขึ้นไป สำหรับจีวรในปัจจุบันมี 5 ขันธ์นับเฉพาะแนวตั้ง เรียกว่า มณฑล ส่วนขันธ์ย่อยเรียกว่า อัฑฒมณฑล



ท้ายที่สุดนี้ วัดพระธรรมกาย ได้จัดให้มีพิธีทอดผ้ามหากฐินสามัคคี วันอาทิตย์ต้นเดือนที่ 3 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2562   

จึงขอกราบเรียนเชิญทุกท่านได้ร่วมพิธีบุญใหญ่นี้โดยพร้อมเพรียงกัน เตรียมกายวาจาใจให้ใสๆรักและปรารถนาดีกับใครชวนกันไปร่วมพิธีทอดผ้ามหากฐินสามัคคี การสั่งสมบุญนำสุขมาให้ทั้งภพชาติปัจจุบันและภพเบื้องหน้า ใกล้วัดไหนก็ไปร่วมพิธีบุญทอดกฐินเพื่อช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองตราบนานเท่านาน เพื่อเป็นที่พึ่งที่ระลึกแก่มวลมนุษย์ชาติ

ดังพุทธศาสนสุภาษิตความว่า

ปุญฺญานิ  ปรโลกสฺมึ  ปติฏฺฐา  โหนฺติ  ปาณินํ
บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า

ที่มา : ขุททกนิกาย ชาดก ทสกนิบาต (ขุ. ชา. ทสก. 27/294)

กราบขอบพระคุณ

5 ความคิดเห็น:

  1. มาร่วมกันทอดกฐินด้วยกันนะคะ สาธุ ขอกราบอนุโมทนาบุญ

    ตอบลบ
  2. อนุโมทนาบุญกับบทความที่ให้ความรู้ดีๆแบบนี้ครับ

    ตอบลบ
  3. มาจากการถวายผ้าจีวรเป็นสังฆทานให้แก่พระภิกษุที่อยู่จำพรรษาครบ3เดือนนี่เอง เฉพาะกาลด้วย ภายใน1เดือนหลังจากวันออกพรรษา มีข้อจำกัดหลายอย่างเลย ดูมีความสำคัญมาก ได้วัดละ1ครั้งต่อปี

    ตอบลบ
  4. เป็นโอกาสที่เราชาวพุทธจะได้บุญใหญ่มากๆ ฉะนั้นพลาดไม่ได้ต้องหาโอกาสทำบุญกฐินนี้ให้ได้เหลือเวลาอีกไม่กี่วันก็จะหมดฤดูกาลทอดกฐินแล้ว และวันอาทิตย์ที่ 3 พย.นี้ #วัดพระธรรมกาย จะจัดให้มีพิธีทอดกฐินสามัคคี เรียนเชิญทุกท่านร่วมพิธีบุญใหญ่ เตรียมกายวาจาใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ รักและปรารถนาดีกับใครชวนกันมาร่วมบุญนะคะ สาธุค่ะ

    ตอบลบ

ประโยชน์ที่ได้รับ...จากการทำสมาธิ

    สมาธิก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง บางคนหากไม่ได้สังเกตก็อาจไม่ทันรู้ตัวว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั้นเป็นผลมาจากสติปั...