นิทานชาดกเป็นสมบัติล้ำค่าของชาวพุทธ นิทานชาดกมิใช่เรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อสอนคุณธรรม
แต่นิทานชาดกคือเรื่องในอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่พระองค์ทรงแสดงแก่พระภิกษุในโอกาสต่างๆ เพื่อเป็นแบบแผนในการทำความดี
หลักธรรมที่ได้จากการรับชมรับฟังนิทานชาดกนี้ สามารถนำไปใช้ให้เป็นคุณประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของตนเองและผู้อื่น
มกสชาดก
ชาดกว่าด้วยความบ้องตื้น
สถานที่ตรัสชาดก
หมู่บ้านแห่งหนึ่งในแคว้นมคธ
หมู่บ้านแห่งหนึ่งในแคว้นมคธ
ครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุหมู่หนึ่งเสด็จเข้าไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในแคว้นมคธ
ตลอดทางที่เสด็จผ่านนั้นพระองค์ทอดพระเนตรเห็นผู้ชายชาวบ้านทั้งหลาย ต่างนอนซมอยู่ตามพื้นบ้าน
บางคนกำลังพอกยา หรือให้ลูกให้ภรรยาทำแผลให้ แต่ละคนมีบาดแผลเหมือนถูกธนูบ้าง ถูกมีดบ้าง
บางคนก็เขียวช้ำเหมือนถูกฟาดด้วยท่อนไม้ ดูราวกับได้รับบาดเจ็บมาจากการรบทัพจับศึกไป
มีชาวบ้านเพียงไม่กี่หลังคาเรือนเท่านั้นที่มิได้มีบาดแผลหรือเจ็บป่วยเลย
พวกเขาได้ชวนกันถวายทานแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระภิกษุ เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับภัตตาหารแล้ว
ได้ตรัสถามถึงความเจ็บป่วยของชาวบ้านเหล่านั้น อุบาสกทั้งหลายจึงกราบทูลว่า
พวกเขาเข้าไปตัดไม้ในป่า ถูกฝูงยุงรุมกัดอยู่เสมอ
จึงชวนกันถืออาวุธเข้าไปไล่ยุง แต่กลับเป็นว่าต่างคนต่างถูกอาวุธของพวกเดียวกันได้รับบาดเจ็บกลับมา
พระพุทธเจ้าข้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
มิใช่แต่บัดนี้หรอกนะ ที่คนอันธพาลคิดว่าจะประหารยุงแต่กลับมาประหารกันเอง
แม้เมื่อชาติก่อนนั้นก็เคยมีมาแล้ว
ชาวบ้านเหล่านั้นจึงกราบทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์
ทรงเล่าเรื่องราวแต่หนหลัง พระพุทธองค์จึงตรัสเล่า มกสชาดก ดังนี้
ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเขตชนบทชายแดน แคว้นกาสี
ชายชาวบ้านทุกคนมีฝีมือในการก่อสร้าง ทำเครื่องเขียน และแกะสลักไม้เป็นอย่างมาก
วันหนึ่ง ขณะที่ช่างไม้หัวล้านคนหนึ่งกำลังขะมักเขม้นถากไม้อยู่นั้น
ยุงตัวหนึ่งได้บินมาเกาะที่กลางหัวที่ล้านเลี่ยนราวกับกระโหลกทองแดงคว่ำของเขา แล้วใช้ปากอันแหลมคมของมัน
แทงลงไปกลางหัวล้านนั้นทันที
ช่างไม้หัวล้านสะดุ้งสุดตัวด้วยความตกใจ
บวกกับความโกรธในขณะนั้นทำให้เขารู้สึกว่าความเจ็บจี๊ดนั้น เป็นความเจ็บปวดที่แสนสาหัสราวกับถูกหอกแหลมๆ
ปักลงมาเต็มที่ เขาจึงทนนั่งคอแข็งไม่ขยับตัวเพราะกลัวยุงจะบินหนีไปเสียพลางร้องสั่งลูกชายซึ่งอยู่ใกล้ๆว่า
ลูกเอ๊ย..
ไอ้ยุงวายร้ายมันกำลังเจาะกบาลพ่ออยู่ เจ็บยังกะถูกหอกแทง เอ็งรีบมาจวกมันให้ตายที่เถอะ
ลูกชายได้ฟังดังนั้น จึงบอกว่า
ว่าแล้ว ลูกชายก็คว้าขวานที่วางอยู่แถวๆนั้น
แล้วย่องเข้ามาทางด้านหลัง ตาจ้องเขม็งไปที่ยุงที่เกาะนิ่งอยู่บนหัวล้านพ่อแล้วเงื้อขวานฟันฉั่วะลงไปเต็มแรง
พอสิ้นเสียงฉั่วะ หัวล้านของช่างไม้ก็แบะออกเป็น
2 เสี่ยง ทั้งเลือดทั้งมันสมองกระเด็นแตกกระจาย ช่างไม้ก็ตายคาที่อยู่ตรงนั้นเอง
ในขณะนั้น มีพ่อค้าผู้หนึ่งกำลังหาซื้อของอยู่แถวนั้น
บังเอิญแวะเข้าไปพักอยู่ในโรงช่างของช่างไม้พอดี เมื่อเห็นลูกช่างไม้เงื้อขวานขึ้นฟันหัวพ่อ
ก็รีบร้องห้ามแต่ไม่ทันการ จึงได้แต่ยืนดูศพของช่างไม้ด้วยความสลดใจ แล้วรำพึงว่า
มีศัตรูที่มีปัญญา ยังดีเสียกว่ามีมิตรที่โง่เขลา ลูกโง่ของช่างไม้คิดว่า จะฆ่ายุง
กลับฟันหัวพ่อเสียเป็น 2 เสี่ยง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประชุมชาดกว่า
พ่อค้าที่เห็นเหตุการณ์ ได้มาเป็นพระองค์เอง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประชุมชาดกว่า
พ่อค้าที่เห็นเหตุการณ์ ได้มาเป็นพระองค์เอง
ข้อคิดจากชาดก
1.การที่คนเราคิดจะฆ่าผู้อื่น
แต่แล้วกลับกลายเป็นการฆ่าตัวเองนั้น แม้ในปัจจุบันก็มี เช่นการที่เราใช้ยาฆ่าแมลง ฉีด พ่น เพื่อ ฆ่ามด ยุง แมลงสาบ ตั๊กแตน หนอน
ฯลฯ นั้น แม้จะฆ่าได้บ้าง
แต่พิษของยาฆ่าแมลงที่ตกค้างอยู่ตามเสื้อผ้า บ้านเรือน ผัก ผลไม้
และยังคงส่งผลร้ายให้ตนได้รับสารพิษนั้นทีละเล็กทีละน้อย
เป็นการฆ่าตัวตายผ่อนส่งโดยไม่รู้ตัว
2.แม้ในเรื่องการหาเงินตราเข้าประเทศ
นักการเมืองบางท่านเสนอให้นำอบายมุข เป็นต้นว่าบ่อนการพนัน หรือการบันเทิงเริงรมย์ มาเป็นเครื่องล่อชาวต่างชาติ
โดยไม่คำนึงถึงว่าจะทำให้คุณธรรม ความดีของคนหายไปอย่างไรบ้าง นับเป็นความคิดบ้องตื้นไร้ปัญญาอย่างยิ่ง
3.ผู้ที่จะใช้คนบ้องตื่นทำงาน
ควรระมัดระวังให้ดีเพราะเขาอาจจะทำความเสียหายร้ายแรงให้เกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้
4.คนที่มีศัตรูเป็นบัณฑิตนั้น
ยังดีเสียกว่ามีคนโง่เป็นมิตร เพราะเขายังเกรงอาญาแผ่นดิน ไม่ถึงกับฆ่าคนได้
ดังพุทธศาสนสุภาษิต ความว่า
เสยฺโย อมิตฺโต มติยา อุเปโต
น เตวว มิตฺโต มติวิปฺปหีโน
กมฺสํ วธิสฺสนฺติ หิ เอลมูโค
ปุตฺโต ปิตุ อพฺภิทา อุตฺตมงฺคํ.
มีศัตรูที่มีปัญญา ดีกว่ามีมิตรที่โง่เขลา
ความโง่เขลาของลูกช่างไม้ที่คิดจะฆ่ายุง
กลับผ่าหัวพ่อตนเสีย ดังนี้.
ที่มา : ขุททกนิกาย ชตกฺ 27/44 สุตตนิบาต 27/15
ขออธิบายศัพท์
มกสชาดก (อ่านว่า มะ-กะ-สะ-ชา-ดก)
มกส คือ ยุง
บ้องตื้น มีความคิดอย่างโง่ๆ
กบาล หัว,ศรีษะ
จวก สับ,ฟัน,หรือตีผู้อื่นโดยแรง
มกสชาดก (อ่านว่า มะ-กะ-สะ-ชา-ดก)
มกส คือ ยุง
บ้องตื้น มีความคิดอย่างโง่ๆ
กบาล หัว,ศรีษะ
จวก สับ,ฟัน,หรือตีผู้อื่นโดยแรง
กราบขอบพระคุณที่มาของบทความ
พระธรรมเทศนาโดยหลวงพ่อทตฺตชีโว
นิทานชาดกอันดับที่ 5 เรื่องมกสชาดก หน้า41-45
ชาดก 500 ชาติ
ขอกราบขอบพระคุณ สำหรับชาดกที่มีคุณค่า ข้อคิดเตือนใจ สาธุ ขอกราบอนุโมทนาบุญ
ตอบลบ#อนุโมทนาบุญ ด้วยอย่างยิ่งครับ
ตอบลบ