วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562

เกร็ดสาระความรู้เรื่องการสร้างพระพุทธรูปสมัยต่างๆ



วันนี้ขอนำเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆแต่ยิ่งใหญ่ในหัวใจชาวพุทธมาฝากทุกท่าน เกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูปในสมัยต่างๆ ที่เราชาวพุทธสร้างไว้เพื่อกราบไหว้บูชาและรำลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ที่ไม่มีประมาณของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาฝากทุกท่าน ติดตามอ่านได้เลย ณ บัดนี้

พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน


พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน


 ศิลปะเชียงแสน นับว่าเป็นศิลปะไทยอย่างแท้จริง ศิลปะสมัยเชียงแสน หมายถึง ศิลปะที่กำเนิดขึ้นในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยคำว่าเชียงแสนเป็นชื่อเมืองเก่าที่สำคัญเมืองหนึ่ง ในจังหวัดเชียงราย และการที่ได้พบประติมากรรมบางชิ้นที่งดงาม เมืองเชียงแสนจึงได้เรียกศิลปะที่ค้นพบว่า ศิลปะแบบเชียงแสน เจริญรุ่งเรืองแพร่กระจายไปทั่วภาคเหนือ ตลอดถึงเมืองเชียงใหม่ เมื่อเมืองเชียงใหม่มีอำนาจขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 19 โดยมีพ่อขุนเม็งรายเป็นผู้นำ หลังจากนี้ทรงมีอำนาจครอบคลุมทั่วภาคเหนือเรียกว่า “อาณาจักรล้านนา” มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงใหม่

ประติมากรรมสมัยเชียงแสน

พระพุทธรูปสำริดและปูน พระพุทธรูปเชียงแสนมี 2 แบบ ได้แก่

   1.) เป็นพระพุทธรูปที่มีพระรัศมีเป็นดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว ขมวดผมจะมีลักษณะใหญ่ หน้าจะกลมและอมยิ้ม คางเป็นปม หน้าอกนูนและกว้างเหมือนหน้าอกราชสีห์ ชายจีวรเหนือบ่าซ้ายสั้นปลายมีแฉกเป็นเขี้ยวตะขาบนิยมทำปางมารวิชัยและขัดสมาธิเพชร และที่ฐานจะทำเป็นรูปบัวคว่ำหรือบัวหงาย เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลมาจากปาละอินเดีย

   2.) นิยมเรียกว่า “แบบเชียงใหม่” เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย สังเกตุเอกลักษณ์ คือ พระรัศมี ดอกบัวตูมจะต้องสูงขึ้น อาจจะเป็นเปลวแบบของสุโขทัย ขมวดผมจะเล็ก ร่างกายอวบอ้วนและหน้าอกนูน แต่มีชายจีวรยาวลงมาถึงท้อง ชอบทำนั่งขัดสมาธิราบ ประติมากรรมรูปปั้นเทวดาและนางฟ้า ที่ประดิษฐานเจดีย์ ที่วัดเจ็ดยอด สร้างในสมัยของพระเจ้าติโลกราช โดยมีเอกลักษณ์เหมือน กับพระพุทธรูปเชียงแสนแบบที่ 2 ซึ่งเป็นประติมากรรมที่ยอมรับว่าวิจิตรงดงามมาก อ่านเพิ่มเติม



พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย

พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย

พระพุทธรูปแบบสุโขทัยที่มีศิลปะแบบเชียงแสนและลังกาเข้ามาปะปนอยู่มาก บางองค์มีลักษณะชายสังฆาฏิหรือจีวรสั้น พระนลาฏแคบ แต่พระองค์และฐานมักเป็นแบบสุโขทัย ที่เรียกว่าแบบวัดตะกวนนั้น เพราะได้พบพระพุทธรูปแบบสุโขทัยและแบบแปลก ๆ เหล่านี้ที่วัดตะกวนในเมืองสุโขทัยเป็นครั้งแรก พระพุทธรูปแบบนี้บางองค์อาจเป็นพระพุทธรูปรุ่นแรกของศิลปะแบบสุโขทัยก็เป็นได้ ทั้งนี้ถ้าเราเชื่อว่าศิลปะเชียงแสงรุ่นแรกเกิดขึ้นก่อนศิลปะสุโขทัย บรรดาพระพุทธรูปปูนปั้นที่ค้นพบ ณ เจดีย์ทางทิศตะวันออกและในพระปรางค์วัดพระพายหลวงเป็นวัดเก่าในสมัยสุโขทัยก็ดูจะเป็นลักษณะแบบนี้ทั้งสิ้น อ่านเพิ่มเติม


พระพุทธรูปประเทศพม่า


 พระพุทธรูปประเทศพม่า


พระมหามัยมุนี หรือ มะฮาเมียะมุนิ (พม่า: မဟာမြတ်မုနိ ရုပ်ရှင်တော်မြတ်ကြီး) เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศพม่า และเป็นหนึ่งในห้าศาสนวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์ของพม่า คำว่า มหามัยมุนี แปลว่า "ผู้รู้อันประเสริฐ" (The Great Sage) เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ อดีตราชธานีของพม่าในยุคราชวงศ์คองบอง เดิมทีเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของยะไข่[1] มีตำนานเล่าว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาลโดยกษัตริย์แห่งเมืองยะไข่ องค์พระทำจากทองสัมฤทธิ์หนัก 6.5 ตัน มีการสร้างบนฐานสูง 1.84 เมตร (6.0 ฟุต) รวมองค์พระมีความสูงทั้งหมดกว่า 3.82 เมตร (12.5 ฟุต)[2][3] ไหล่กว้าง 1.84 เมตร (6.0 ฟุต) และรอบเอวกว้าง 2.9 เมตร (9.5 ฟุต)[2][3]

ก่อนสร้างกษัตริย์ผู้สร้างทรงพระสุบินว่า พระพุทธเจ้า เสด็จมาประทานพรให้พระพุทธปฏิมาองค์นี้เป็นตัวแทนของพระองค์ เพื่อเป็นเครื่องสืบพระพุทธศาสนาไปในภายภาคหน้า[4][2][5] โดยในอดีตแม้เมืองยะไข่จะถูกโจมตีโดยกษัตริย์เมืองอื่นที่ทรงแสนยานุภาพอย่างไร ก็ไม่อาจที่จะเคลื่อนย้ายองค์พระมหามัยมุนีนี้ออกจากเมืองได้ ต้องมีเหตุให้ขัดข้องทุกครั้งไป จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระเจ้าปดุง แห่งราชวงศ์คองบองสามารถตียะไข่ได้ และได้อัญเชิญพระมหามัยมุนีออกจากยะไข่ได้ในปี พ.ศ. 2327 โดยล่องมาตามแม่น้ำอิระวดีมายังเมืองมัณฑะเลย์ พระมหามัยมุนีจึงได้มาประดิษฐานอยู่ที่เมืองมัณฑเลย์เป็นการถาวรนับแต่นั้นเป็นต้นมา

ด้วยความเชื่อว่าพระพุทธมหามัยมุนีนี้เป็นพระพุทธรูปที่มีชีวิต ด้วยเหตุที่ได้รับประทานพร หรือบางตำนานก็กล่าวว่าได้รับประทานลมหายใจจากพระพุทธเจ้า[4] จึงมีประเพณีล้างพระพักตร์ถวายโดยทุกเช้าในเวลาประมาณ 04.00 น.[6] พระมหาเถระและสาธุชนทั่วไปที่ศรัทธาจะมาทำพิธีล้างพระพักตร์ด้วยน้ำอบน้ำหอมผสมทานาคาอย่างดี พร้อมกับใช้แปรงทองแปรงที่พระโอษฐ์เสมือนหนึ่งแปรงพระทนต์ถวายพระพุทธเจ้า ก่อนใช้ผ้าจากศรัทธาสาธุชนที่ถวายมาเช็ดจนแห้งสนิท แล้วนำกลับคืนแก่สาธุชนผู้นั้นไปบูชาต่อ พร้อมใช้พัดทองโบกถวายเป็นอันดี เสมือนหนึ่งได้อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ยังทรงพระชนมชีพอยู่[3][2]

พระพุทธรูปสมัยอยุธยา


พระพุทธรูปสมัยอยุธยา

1.พระมงคลบพิตร ประดิษฐานที่วิหาร วัดมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จาก พุทธลักษณะ การค้นพบพระพุทธรูปขนาด เล็กแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง (ขัดสมาธิเพชร) บรรจุไว้ในพระอุระ แสดงให้เห็นถึงการรับอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยและศิลปะล้านนา แล้ว จึงเชื่อว่า พระมงคลบพิตรน่าจะสร้างขึ้น ในสมัยอยุธยาตอนต้น ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน สูง 12.45 เมตร
2.พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่นี้ได้รับความนิยมอย่างมาก ในสมัยอยุธยาตอนปลายสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในความหมายของปางทรมานพญามหาชมพู กษัตริย์ที่ถือพระองค์ว่าเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ในจักรวาล พระพุทธองค์จึงเนรมิตพระองค์ให้อยู่ในเครื่องทรงอย่างจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่กว่าพญามหาชมพู และทรงเทศนาโปรด จนกษัตริย์พระองค์นี้ ยอมผนวช และ สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ลักษณะพระพุทธรูปแสดงให้เห็นถึงงานช่างในสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ฉาบด้วยปูนปั้น ลงรักปิดทอง ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และพระราชทานนามว่าพระพุทธนิมิตวิชิตมาร โพลี ศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ อ่านเพิ่มเติม


พระพุทธรูปมหายาน

พระพุทธรูปมหายาน

พระอวโลกิเตศวรในฐานะธยานิโพธิสัตว์
พุทธศาสนามหายานได้จำแนกพระโพธิสัตว์ออกเป็น ๒ ประเภท อันได้แก่ พระมนุษิโพธิสัตว์ และ พระธยานิโพธิสัตว์

พระมนุษิโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ในสภาวะมนุษย์หรือเป็นสิ่งมีชีวิตในรูปแบบอื่น ๆ ที่กำลังบำเพ็ญสั่งสมบารมีอันยิ่งใหญ่เพื่อพระโพธิญาณอันประเสริฐ ถ้าตามมติของฝ่ายเถรวาทก็คือผู้ที่ยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสารเพื่อบำเพ็ญ ทศบารมี ๑๐ ประการให้บริบูรณ์ เหมือนเมื่อครั้งสมเด็จพระผู้มีพระภาคได้ทรงกระทำมาในอดีต โดยที่เสวยพระชาติเป็นทั้งมนุษย์และสัตว์จนได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระศากยมุนีพุทธเจ้า การบำเพ็ญบารมีดังกล่าวนี้เป็นความยากลำบากแสนสาหัส สำเร็จได้ด้วยโพธิจิต อีกทั้งวิริยะและความกรุณาอันหาที่เปรียบมิได้ ต้องอาศัยระยะเวลายาวนานนับด้วยกัปอสงไขย สิ้นภพสิ้นชาติสุดจะประมาณได้
พระธยานิโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ประเภทนี้มิใช่พระโพธิสัตว์ผู้กำลังบำเพ็ญบารมีเพื่อแสวงหาดวงปัญญาอันจะนำไปสู่ความรู้แจ้งเหมือนประเภทแรก แต่เป็นพระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญบารมีบริบูรณ์ครบถ้วนแล้ว และสำเร็จเป็นพระธยานิโพธิสัตว์หรือพระโพธิสัตว์ในสมาธิโดยยับยั้งไว้ยังไม่เสด็จเข้าสู่พุทธภูมิ เพื่อจะโปรดสรรพสัตว์ต่อไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด พระธยานิโพธิสัตว์นี้เป็นทิพยบุคคลที่มีลักษณะดังหนึ่งเทพยดา มีคุณชาติทางจิตเข้าสู่ภูมิธรรมขั้นสูงสุดและทรงไว้ซึ่งพระโพธิญาณอย่างมั่นคง จึงมีสภาวะที่สูงกว่าพระโพธิสัตว์ทั่วไป พระธยานิโพธิสัตว์มักจะมีภูมิหลังที่ยาวนาน เป็นพระโพธิสัตว์เจ้าที่สำเร็จเป็นพระโพธิสัตว์มาเนิ่นนานนับแต่สมัยพระอดีตพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ สุดจะคณานับเป็นกาลเวลาได้ พระธยานิโพธิสัตว์ที่พุทธศาสนิกชนมหายานรู้จักดี อาทิ พระมัญชุศรี พระอวโลกิเตศวร พระมหาสถามปราปต์ พระสมันตภัทร พระกษิติครรภ์ เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม

สรุปความว่า
ชาวพุทธตามสมัยและตามท้องถิ่นต่าง ๆนิยมสร้างพระพุทธรูป เพื่อไว้เคารพบูชาและกราบไหว้สร้างไว้เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้เราชาวพุทธนึกถึงคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เป็นคนคิดดีพูดดีและกระทำแต่สิ่งที่ดีงาม  และเชื่อว่าทำให้ได้บุญใหญ่ และมีอานิสงค์มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนสร้างจะได้บุญทุกครั้งที่มีคนมาแสดงความเคารพหรือกราบไหว้ ชาวพุทธสร้างพระพุทธรูปมาเป็นเวลายาวนาน โดยผู้สร้างพยายามที่จะสร้างให้งดงามใกล้เคียงกับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้มากที่สุด เท่าที่ผู้สร้างจะมีสติปัญญา ความรู้ และความสามารถมากหรือน้อยเพียงไร รวมถึงสิ่งแวดล้อม สังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม และยุคสมัย ก็มีผลอย่างสูงในการสร้างพระพุทธรูปให้เหมือนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้มากที่สุด  


ขอกราบอนุโมทนาบุญต่อบรรพบุรุษที่เมตตาสร้างพระพุทธรูปอันแสนงดงามไว้ให้เราลูกหลานได้กราบไหว้เพื่อรำลึกถึงคุณของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อได้นำหลักคำสอนของพระองค์ท่านมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดีงามและปลอดภัยในสังสารวัฏ  ตราบกระทั่งเข้าสู่พระนิพพาน สาธุค่ะ



กราบขอบพระคุณแหล่งที่มาที่ทำให้บลอคสมบูรณ์ :

ความรู้เรื่องพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนต้น/ตอนปลายพร้อมภาพประกอบ
นักเขียนอิสระ : tum072
                       : คนจริงใจ ใจใสบริสุทธิ์


5 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณบทความที่ให้ความรู้ดีๆแบบนี้ครับ

    ตอบลบ
  2. พระพุทธรูปที่บรรพบุรุษสร้างขึ้นเพื่อให้บุตรหลานมีไว้เคารพบูชากราบไหว้และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และเพื่อรำลึกถึงพระคุณขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรรพบุรุษได้สร้างด้วยใจที่สะอาดบริสุทธิ์

    พระพุทธรูปคือองค์แทนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เอง พระผู้มีคุณต่อสัตว์โลก

    สำคัญเราชาวพุทธควรระวังปฏิบัติต่อพระพุทธรูปด้วยความเคารพ อย่าดึงของสูงลงมาเสมอตนหรือต่ำกว่าตนเพราะผลวิบากที่จะได้รับน่ากลัวมาก ทำให้ตกนรกไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด เกิดมาก็จะเกิดในตระกูลต่ำ

    ชีวิตเป็นของน้อย เดี๋ยววันเดี๋ยวคืน เดี๋ยวเดือน เดี๋ยวปี วันพรุ่งนี้หรือชาติหน้าสิ่งไหนจะมาก่อนไม่มีใครรู้ได้ ฉะนั้นจงดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาทเถิด มนุษย์เรามีเกิดมีแก่มีเจ็บมีตาย เมื่อตายสิ่งที่จะนำติดตัวไปได้มีแต่บุญและบาปเท่านั้น #ทำสิ่งใดย่อมได้สิ่งนั้น #ทำดีได้ดี #ทำชั่วได้ชั่ว #ทำดีเถิดประเสริฐนัก เมื่อถึงคราละโลกจะได้ไปสวรรค์

    ผู้ใดปฏิบัติหรือแสดงความเคารพกราบไหว้ด้วยจิตที่ใสๆบริสุทธิ์ จะได้รับอานิสงส์จะทำให้เป็นผู้ไม่ตกต่ำจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองในภพชาติปัจจุบันและชาติเบื้องหน้า ตราบกระทั่งเข้าสู่พระนิพพาน

    ขอกราบรำลึกถึงคุณบรรพบุรุษที่เมตตารักษาไว้ให้พวกเรารุ่นหลัง เราควรช่วยกันรักษาและส่งต่อให้ลูกหลานได้ร่วมกันรักษาให้อยู่คู่โลกตราบนานเท่านาน เพื่อจักมีไว้เป็นที่พึ่งที่ระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและดำเนินตามคำสอนของพระองค์ท่าน จักได้เป็นคนดีมีศีลธรรมมีความสุขตลอดไปทุกภพชาติตราบกระทั่งเข้าสู่พระนิพพาน


    ขอกราบอนุโมทนาบุญต่อความรู้ดีๆนี้ สาธุค่ะ

    ตอบลบ
  3. มุมมองของคนพม่า เกี่ยวกับ พระพุทธรูปอุลตร้าแมน ฟังแล้วดีมากๆลองฟังดูนะคะ
    https://youtu.be/3KMj4qfEvkE

    ตอบลบ
  4. พระพุทธรูปอุลตร้าแมน (ข้อคิดจาก : พระศักดา สุนฺทโร) - ไทยกระจ่าง
    https://youtu.be/oytDpmitRtc?t=22

    ดีมากๆฟังดูนะคะ

    ตอบลบ

ประโยชน์ที่ได้รับ...จากการทำสมาธิ

    สมาธิก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง บางคนหากไม่ได้สังเกตก็อาจไม่ทันรู้ตัวว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั้นเป็นผลมาจากสติปั...