Cr.www.dmc.tv
ประวัติความเป็นมาของการทำปวารณาในวันออกพรรษา
เกิดขึ้นจากครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี มีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งแยกย้ายกันจำพรรษาอยู่ อารามรอบๆพระนคร พระภิกษุเหล่านั้นเกรงจะเกิดความขัด แย้งกัน จนอยู่ไม่เป็นสุขตลอดพรรษาจึงได้ตั้งกติกากันว่า จะประพฤติมูขวัตร คือการนิ่งไม่พูดจากันตลอด 3 เดือน และได้ถือปฏิบัติกันมาตลอดพรรษา
เมื่อถึงวันออกพรรษาพระภิกษุเหล่านั้นก็ได้พากันเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระเชตะวันมหาวิหาร แล้วกราบทูลเรื่องทั้งหมดให้พระพุทธองค์ทรงทราบ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตำหนิ และทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันว่าภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้ว ปวารณากันใน 3 ลักษณะ คือ ด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดีด้วยการสงสัยก็ดี
Cr.www.dmc.tv
ดังนั้นในวันออกพรรษา จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
วันมหาปวารณา ซึ่งเป็นวันเดียวกันตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11
ของทุกปีแต่ถือกันคนละความหมายคือ วันออกพรรษา คือวันที่สิ้นสุดของการอยู่จำพรรษา
หรือพูดง่ายๆว่า วันสุดท้ายที่ต้องอยู่จำพรรษาในแต่ละปีและพระสงฆ์จะต้อง
อยู่ให้ครบอีก 1 ราตรี
จึงจะครบถ้วนบริบูรณ์
ส่วนวันมหาปวารณาคือการทำปวารณาครั้งใหญ่
หมายถึงวันที่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปทั้งพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อย
ต่างเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกันให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ด้วยจิตที่เมตตา
โดยมีคำกล่าว “ปวารณา” เป็นภาษาบาลีว่า
สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา
ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต
ปะฏิกกะริสสามิฯ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญกระผมขอปวารณาต่อสงฆ์
หากท่านทั้งหลายได้เห็น ได้ยินหรือสงสัยว่า ผม ได้ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
ขอท่านทั้งหลาย โปรดอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน
กระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้วจะประพฤติตัวเสียใหม่ให้ดี
กระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้วจะประพฤติตัวเสียใหม่ให้ดี
ที่มา : ปกิณณวินัย
การอยู่จำพรรษารวมกันตลอดระยะเวลา 3 เดือน
อาจมีข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีไม่งามเกิดขึ้น
โดยรู้เท่าไม่ถึงการหรือมองไม่เห็นเสมือนผงเข้าตาตนเอง แม้ผงจะอยู่ชิดติดกับลูกในตาเราก็ไม่สามารถมองเห็นผงนั้นได้
จึงจำเป็นต้องไหว้วานขอร้องผู้อื่นให้มาช่วยดู
หรือต้องใช้กระจกส่องดู เพราะฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงใช้วิธีการปวารณา
ให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้
เพื่อพระภิกษุที่ได้เห็นหรือแม้แต่ได้ยินได้ฟังเรื่องไม่ดีไม่งามอะไรก็ตาม
ให้กล่าวแนะนำตักเตือนได้ คือ
พระผู้มีพรรษามากก็กล่าวตักเตือนพระผู้มีพรรษาน้อยได้
และพระผู้พรรษาน้อยก็สามารถกล่าวชี้แนะถึงข้อบกพร่องของพระผู้มีพรรษามากได้เช่นกัน โดยที่พระผู้มีพรรษามาก ท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมด ทุกอย่างการกล่าวปวารณาเท่ากับเป็นการช่วยระมัดระวังข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีของพระรูปหนึ่งก่อนที่จะลุกลามก่อความเสื่อมเสียไปถึงพระหมู่มากและลุกลามไปถึงพระพุทธศาสนาได้
ท่านจึงใช้วิธีป้องกันไว้ก่อนดี กว่าการแก้ไขในภายหลังการปวารณาที่พระภิกษุทั้งหลาย
จุดมุ่งหมายของการปวารณาคือ
1.เป็นกรรมวิธีลดหย่อนผ่อนคลายข้อขุ่นข้องคลางแคลง ที่เกิดจากความระแวงสงสัยให้หมดไปในที่สุด
2.เป็นทางประสานรอยร้าวที่เกิดจากผลกระทบกระทั่งในการอยู่ร่วมกัน
ให้มีโอกาสกลับคืนดีด้วยการให้โอกาสได้ปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน
3.เป็นทางสร้างเสริมความสามัคคีในหมู่ให้กลมเกลียว
อยู่ร่วมกันอย่างสนิทใจ
4.เป็นแนวปฏิบัติให้เกิดความเสมอภาคกันในการแสดงความคิด
สามารถว่ากล่าวตักเตือนได้โดยไม่จำกัดด้วยยศ ชั้นพรรษาและวัย
5.ก่อให้เกิดภราดรภาพคือความรู้สึกเป็นมิตรชิดเชื้อปรารถนาดี เอื้อเฟื้ออาทรเป็นพื้นฐานนำไปสู่พฤติกรรมอันพึงประสงค์ที่ดีงามคล้ายๆกัน เรียกว่าศีลสามัญญตา
อานิสงส์ของการปวารณา ได้แก่
1.ทำให้เกิดความบริสุทธิ์ในเพศบรรพชิต
ทั้งทางกาย วาจาและใจ เป็นการคลายความสงสัยระแวงให้หมดไปในที่สุด
2.พระภิกษุทุกรูปจะรู้ข้อบกพร่องของตนเองและจะได้ปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น
โดยฝึกความอดทนต่อการว่ากล่าวตักเตือนได้เป็นการเปิดใจยอมรับฟังผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้
3.พระภิกษุทุกรูปจะได้ขอคมากันและกัน
เพื่อที่จะไม่ถือโทษโกรธเคืองกันในภายหลัง
ด้วยความรักและปรารถนาดีและให้อภัยซึ่งกันและกัน
จะทำให้อยู่ร่วมกันในหมู่คณะอย่างผาสุก
4.เป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคีในสังฆมณฑลให้เป็นหนึ่งเดียวกัน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนในการทำงานพระพุทธศาสนาเป็นทีม
5.ทำให้คณะสงฆ์มีความเป็นปึกแผ่นแน่นเหนียวยากแก่การถูกทำลายจากผู้ไม่หวังดีต่อพระพุทธศาสนา
การปวารณาจึงเป็นการกระทำเพื่อหวังความเจริญ
เพื่อเกิดประโยชน์ทั้งต่อส่วนตัวและส่วนรวมโดยเพื่อนสหธรรมิกด้วยกันเอง ตักเตือนกันเองได้ โดยธรรม
ความรู้เพิ่มเติม (คลิก) ปวารณาว่าโดยผู้ทำมี 3 อย่างคือ
อีก 9
วันก็ถึงวันมหาปวารณาออกพรรษา วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 11
ปีนี้ตรงกับวันพุธที่ 24 ตุลาคม พุทธศักราช 2561 พวกเราเหล่าพุทธบริษัท 4 จะได้ถือโอกาสนี้ปฏิบัติตามธรรมเนียมอันดีงามนี้
โดยการปวารณากับบุคคลข้างเคียงให้สามารถว่ากล่าวตักเตือนได้ เพื่อความบริสุทธิ์บริบูรณ์ในการสร้างบารมี
ต่อไปในภายภาคหน้า
บทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร, 3 จบ ไม่มีบทขัด, ภาพพระมหาธรรมกายเจดีย์
cr.www.dmc.tv
วันมหาปวารณาออกพรรษา
เรียนเชิญผู้มีบุญทุกท่านร่วมสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ให้ได้788,888,888 จบ เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา
ณ วัดพระธรรมกาย เพื่อยังความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและคนที่เรารัก
รักและปรารถนาดีใครชวนกันมา
พระพุทธศาสนาเข้มแข็ง เจริญรุ่งเรือง
เป็นทั้งที่พึ่ง
ที่ระลึกแก่มวลมนุษย์ชาติตราบนาน เท่านาน
ขอกราบอนุโมทนาบุญ สาธุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น