วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2561

เส้นทางการสร้างบารมีของหลวงพ่อทัตตชีโว (เผด็จ ผ่องสวัสดิ์)คุณครูไม่เล็ก ครูผู้เป็นที่เคารพรักยิ่งชีวิตของลูกศิษย์วัดพระธรรมกายทั่วโลก




      หลวงพ่อทัตตชีโว(เผด็จ ผ่องสวัสดิ์) คุณครูไม่เล็ก
 www.dmc.tv
                                            


ต่อไปนี้เป็นคำบอกเล่าของหลวงพ่อทัตตชีโว (เผด็จ ผ่องสวัสดิ์)คุณครูไม่เล็ก ที่เกี่ยวกับเส้นทางในการสร้างบารมีของท่าน ตีพิมพ์ในหนังสือมุทิตาสักการะในวาระ 60 ปีทองของการสร้างบารมี 21 ธันวาคม พุทธศักราช 2543 และจากบันทึกที่ท่านเขียนไว้ในเรื่อง “ผจญมาร” ในหนังสือ “เดินไปสู่ความสุข” พิมพ์เมื่อปีพุทธศักราช 2512 ซึ่งมีข้อคิดน่าสนใจ จึงขอนำเนื้อหาบางส่วนมาถ่ายทอด ดังนี้...

“...เมื่ออาตมามีอายุย่างเข้าวัยรุ่นนั้น อาตมารักการฝึกสมาธิ(Meditation)มาก เริ่มต้นมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2497 - 2498 ขณะเรียนหนังสืออยู่ชั้นมัธยม 4 แรกทีเดียวเป็นเพราะได้อ่านวิธีการฝึกสมาธิในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งรจนาโดยพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อประมาณ พ.ศ.900 ที่เจอเพราะรักการอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจนั่นเอง อาตมาอ่านหนังสือทุกประเภท อ่านดะไปหมด อ่านจนหมดห้องสมุดประจำจังหวัดกาญจนบุรี พออ่านคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วก็อยากฝึกสมาธิ แต่ฝึกเองไม่ได้ผล จึงดั้นด้นค้นหาอาจารย์สอนสมาธิ ให้บังเอิญไปพบอาจารย์ที่ฝึกสมาธิเพื่อประโยชน์ทางอิทธิฤทธิ์เข้าก่อน จึงเลยเป็นไปตามฤทธิ์หนุ่ม คือ ฝึกวิชาหนังเหนียว รูดโซ่ ลุยไฟ สะเดาะกลอน สารพัด ใจมันอยากจะเป็นอย่างขุนแผนกับเขาบ้าง ตอนนั้นไม่รู้เลยว่าวิชาเหล่านี้เป็นวิชามาร คิดว่าเป็นวิชาพระ เพราะมีคาถาประกอบเป็นบทสรรเสริญพระพุทธคุณบ้าง บทสรรเสริญพระโมคคัลลาน์อัครสาวกผู้มีฤทธิ์บ้าง...อาตมาคิดแต่ว่า จะเอาวิชานี้ไปทำประโยชน์ให้ประเทศชาติเท่านั้น ยิ่งตอนหลังเกิดหนังเหนียว อยู่ยงคงกระพันขึ้นมาจริงๆ ก็เลยหลงคิดว่ามาถูกทางแล้ว…
...อย่างไรก็ดี บุญเก่าของอาตมาคงมีอยู่ไม่น้อย จึงทำให้ได้พบหลวงพ่อธัมมชโยเสียก่อนที่จะหลงทางเลยเถิดไปไกล... ซึ่งตอนนั้นยังเป็นนิสิตรุ่นน้องปี 4 อาตมาจำได้แม่นยำว่าเป็นวันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2509 ซึ่งเป็นวันลอยกระทง ...”
หลังจากที่คุณเผด็จ (หลวงพ่อทัตตชีโว) ได้ทราบว่านิสิตรุ่นน้อง คือ คุณไชยบูลย์ สุทธิผล (หลวงพ่อธัมมชโย) ผู้นี้ถือศีล 5 ไม่ดื่มสุรา และเป็นผู้ปฏิบัติธรรม ท่านจึงสนใจและได้ติดตามทำความรู้จัก พอได้พูดคุยก็รู้สึกถูกอัธยาศัย จึงอยากจะถ่ายทอดวิชาที่เรียนมาให้ โดยได้ขอทดสอบภูมิความรู้ทางธรรมก่อน เนื่องจากคุณเผด็จอ่านตำรามามาก คำถามจึงเยอะ ถึงขนาดเปิดพระไตรปิฎกถามนิสิตรุ่นน้องท่านนั้นข้ามวันข้ามคืน ต้อนคำถามไปเท่าไร ตอบได้หมดไม่เคยจนมุมคำถามเลย ที่เคยตั้งใจจะรับเป็นลูกศิษย์ ท่านก็ชักลังเลเพราะภูมิความรู้ทางธรรมของคุณไชยบูลย์เหนือกว่ามาก พอถามเรื่องนรก-สวรรค์ คุณไชยบูลย์ได้ให้คำตอบอย่างชัดถ้อยชัดคำและยืนยันด้วยความมั่นใจว่ามีจริง ผู้ที่สามารถไปได้ยังมีชีวิตอยู่ เป็นศิษย์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร) เป็นแม่ชีนามว่า คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
“...ในช่วงก่อนที่หลวงพ่อธัมมชโยจะพามาพบคุณยาย อาตมาพยายามพูดอวดอ้างความวิเศษของวิชามารให้ท่านฟังบ่อยๆ ก็อย่างที่บอกแล้ว ตั้งใจจะรับท่านเป็นลูกศิษย์ แต่ท่านไม่สนใจเลย กลับชี้ให้เห็นโทษว่าวิชาเหล่านี้เป็นเดรัจฉานวิชา จะนำความเดือดร้อนมาให้ภายหลัง แล้วสรรเสริญวิชาที่คุณยายจะสอนให้ทุกวัน อาตมาก็สนใจแต่เรื่องนรก-สวรรค์เท่านั้น ..."
วันหนึ่ง คุณเผด็จอยากจะลองวิชา “ดับพิษน้ำมัน” จึงนัดให้เพื่อนๆ มาดูกัน โดยทุกครั้งเมื่อเอามือจุ่มลงไปในกระทะกล้วยทอดที่มีน้ำมันร้อนๆ ท่านเคยเอามือจุ่มลงไปได้โดยมือไม่พองไม่ร้อน แต่สังเกตว่าครั้งใดที่มีคุณไชยบูลย์อยู่ด้วย พอยื่นมือเข้าไปใกล้ๆไอร้อน ก็รู้สึกร้อนจัดจนต้องหดมือกลับ ทำให้สงสัยว่าคุณไชยบูลย์ต้องมีอะไรดี ต่อมาคิดที่จะประลองฤทธิ์โดยเสกปรอทใส่มือคุณไชยบูลย์(หลวงพ่อธัมมชโย) ก็ทำไม่สำเร็จ ภายหลังจึงทราบว่าคุณไชยบูลย์(หลวงพ่อธัมมชโย) เป็นนักปฏิบัติธรรมของสำนักวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และฝึกจนบรรลุธรรมกาย
แม้แต่อาจารย์ผู้ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือในวิชามารนั้น เมื่อมีการทดลองวิชาทั้งหมดต่อหน้าคุณไชยบูลย์(หลวงพ่อธัมมชโย) ก็แสดงฤทธิ์ไม่ออก วิชาทั้งหลายก็เสื่อมหมดไม่มีอิทธิฤทธิ์อย่างใดเลย สู้อำนาจวิชชาธรรมกายไม่ได้
“...ตั้งแต่นั้นมาก็เลยเชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าวิชาพระพุทธเจ้าดีกว่า และยังรู้เพิ่มเติมอีกว่า วิชามารทำให้ตกนรกได้ เลยเลิกวิชามารเด็ดขาด ยกตำราให้คุณยายอาจารย์เผาทิ้ง...”
“...คำอธิบายสั้นๆ ของคุณไชยบูลย์(หลวงพ่อธัมมชโย) คือ คนเราถ้าจะเปรียบแล้วก็เหมือนตู้วิทยุ สมาธิเหมือนเครื่องรับวิทยุ ภายในตู้ ถ้าเครื่องรับดีก็จะสามารถรับคลื่นเสียงได้ชัดเจน ทั้งคลื่นสั้นคลื่นยาวทั้งในระยะไกลและใกล้ ส่วนจะเลือกรับคลื่นที่ส่งมาจากมารหรือจากพระนั้น แล้วแต่ผู้ฟังหรือจิตของเราเองว่าจะฝักใฝ่ไปในทางใด...”
ตั้งแต่นั้นมา คุณเผด็จก็ติดตามคุณไชยบูลย์(หลวงพ่อธัมมชโย)ไปศึกษาธรรมปฏิบัติกับคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ที่บ้านธรรมประสิทธิ์ในวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ต่อมาท่านได้เป็นกำลังสำคัญท่านหนึ่งในหมู่คณะที่ร่วมบุกเบิกสร้างวัดพระธรรมกาย โดยรับนโยบายจากหลวงพ่อธัมมชโย(คุณไชยบูรย์ สุทธิผล) และคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้เป็นครูบาอาจารย์และที่ปรึกษา
หลังจากเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ ท่านได้รับมอบหมายรับผิดชอบด้านงานเทศน์สอนและอบรมสร้างพระให้เป็น “พระแท้” สร้างคนให้เป็น "คนดี" ทำให้มีโครงการอบรมพระภิกษุสามเณรธรรมทายาท, โครงการอบรมทหาร ตำรวจ ครู ข้าราชการในหน่วยราชการต่างๆ ตลอดจนบริษัทเอกชนอีกมากมายหลายแห่ง อีกทั้งขยายงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ศูนย์สาขาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตั้งแต่ปีแรกจวบจนปัจจุบันนี้ แม้มีสิริอายุ 72 ปี ท่านก็ยังทำงานตลอดมา
หลวงพ่อทัตตชีโว (เผด็จ ผ่องสวัสดิ์)คุณครูไม่เล็ก มีปกติวิสัยแห่งความเป็นครูผู้เปี่ยมล้นคุณธรรม ทั้งมีจิตกอปรด้วยความเป็นกัลยาณมิตร อุทิศตัวทุ่มเทให้งานอบรมเทศน์สอนและงานเขียนหนังสือธรรมะที่เป็นผลงานอันทรงคุณค่ามากมายประมาณกว่า 136 เล่ม ทั้งนี้ได้มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษอีกหลายเล่ม รวมทั้งที่จัดทำเป็นเทปและวีดีโอเทปอีกมากมาย ตัวอย่างชื่อผลงานหนังสือที่เป็นที่รู้จัก และใช้เป็นคู่มือการดำเนินชีวิต เช่น มงคลชีวิต 38 ประการ, พระแท้, หลวงพ่อตอบปัญหา, เสขิยวัตร (ต้นบัญญัติมารยาทไทย), ก่อนไปวัด, คนดีที่โลกต้องการ, แด่นักสร้างบารมี, แม่แบบคนดี, รัฐศาสตร์เชิงพุทธ, เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ, คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ, ครอบครัวอบอุ่น, บทฝึกลูกรัก, ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู และ อัตชีวประวัติของหลวงพ่อทตฺตชีโว(เผด็จ ผ่องสวัสดิ์)คุณครูไม่เล็ก ในหนังสือเล่าเรื่องยาย เป็นต้น

นี้คืออัตตชีวประวัติอันทรงคุณค่าในการฝึกฝนอบรมตนเองของครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณยิ่งของลูกๆนักสร้างบารมีทั่วโลก หลวงพ่อทัตตชีโว (เผด็จ ผ่องสวัสดิ์)คุณครูไม่เล็กแห่งวัดพระธรรมกาย

Cr.Dhammakaya of America TV @GBNUS

บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

ในวาระวันคล้ายวันเกิดนี้ในวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2561 ครบ 78 ปี หลวงพ่อทัตตชีโว(เผด็จ ผ่องสวัสดิ์)
คุณครูไม่เล็ก ขอเรียนเชิญลูกศิษย์วัดพระธรรมกายทั่วโลกและผู้มีบุญทุกท่านร่วมกันสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ให้ถึงเป้า 978,787,878 จบ เพื่อกตัญญูบูชาธรรมหลวงพ่อทัตตชีโว คุณครูไม่เล็กของพวกเรา  ณ พระมหาธรรมกายเจดีย์ พระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าล้านพระองค์ วัดพระธรรมกาย  ทำที่ท่านได้ที่เรา ศิษย์ดีต้องมีความกตัญญู ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของศิษย์ดี เป้าหมายยังขาดอีกมากมาช่วยกันสร้างผังสำเร็จ ยังความสำเร็จถวายครูผู้มีพระคุณของพวกเรากันให้ได้นะคะ

พร้อมนี้เรียนเชิญทุกท่านมาร่วมกันสวดมนต์บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ให้ได้ 1,000 ล้านจบภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ พ.ศ. 2562 เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา สั่งสมบุญบารมีความมีสิริมงคลให้แก่ตนเองและบุคคลอันเป็นที่รัก รักและปรารถนาดีกับใครชวนกันมาสวดมนต์บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตรข้ามปีบุญกุศลนี้จะทำให้เราและบุคคลอันเป็นที่รักประสบแต่ความสุขและความสำเร็จโดยถ้วนหน้า ตลอดปีตลอดไปขอกราบอนุโมทนาบุญ สาธุ 

เรียนเชิญฟังความประทับใจของลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด พระอาจารย์ทีมอุปัฏฐากและ
กัลยาณมิตรรุ่นบุกเบิกสร้างวัดพระธรรมกาย(คลิก)
โดยพระครูภาวนาสุธรรมวิเทศ ประธานสงฆ์วัดพระธรรมกายนิวเจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา
พระสมุห์พิชิต ฐิตชโย
พระครูสังฆรักษ์บุญธรรม ปุญญธมฺโม
พระครูปรเมษฐ์ ปรมสัจโจ
กัลยาณมิตรองอาจ ธรรมนิทรา
อุบาสิกาดร.มัทนา ฟั่น
กัลยาณมิตรป้าประยงค์ ปีกขาว

ขอขอบคุณ

www.dmc.tv
Dhammakaya of America TV @GBNUS
สำนักสื่อธรรมะ 
phrasombat summapalo



วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สุขภาพที่ดี...คุณทำได้...ง่ายๆสบายๆ





จากการรวบรวมความรู้จากแหล่งต่างๆ
เพื่อนำมาใช้ในการดูแลรักษาสุขภาพตนเอง
และหมู่คณะอย่างสุดฝีมือ
โดยเน้นการป้องกันเป็นหลัก
จนในที่สุดทำให้หลวงพ่อได้ข้อสรุปว่า
ถ้าไม่ใช่โรคที่เกิดจากกรรมข้ามชาติแล้ว
โรคส่วนมากมักเกิดจากนิสัยมักง่ายตามใจตัวเอง
เช่น นิสัยตามใจปาก ตามใจท้อง ความมักง่าย
ในอิริยาบถต่างๆ เป็นต้น
ซึ่งเป็นตัวบ่อนทำลายสุขภาพที่แท้จริงของเรา
เพราะฉะนั้น
ถ้าใครต้องการรักษาสุขภาพให้ดีไปตลอดชีวิต
รวมทั้งหากพบว่าโรคภัยไข้เจ็บของเรา
เกิดจากความมักง่ายตามใจตัวเองเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
จะรักษาโรคให้ชะงัด ต้องพยายามหักดิบนิสัยไม่ดี
ของตัวเองให้หมดไปไวที่สุดเท่าที่จะทำได้ 


บุญเท่านั้น คือที่พึ่งที่แท้จริงของเราเอง อย่างอื่นไม่ใช่
บุญซึ่งเป็นที่มาของความสุข ความเจริญ ความดีงาม
ทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่การบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ล้วนต้องอาศัยบุญทั้งสิ้น
ต้องทำด้วยตนเอง ใครทำ ใครได้...
เขาต้องทำบุญต่างๆ เหล่านั้นด้วยตัวของเขาเอง
เขาก็ต้องใช้ร่างกายกว้างศอก ยาววา หนาคืบ
และมีใจครอง นี่แหละ ไปทำบุญ
นักสร้างบุญบารมีทั้งหลาย จึงต่างรักต่างให้คุณค่า
ของร่างกายมนุษย์นี้ยิ่งนัก ซ้ำยังต่างถนอมร่างกายมนุษย์นี้
ไม่ต่างกับคนตาเดียว ถนอมนัยน์ตาข้างที่เหลือของเขาเลย
ต้องถนอมร่างกายมนุษย์เป็นนักหนา เพราะ
ร่างกายมนุษย์นี้แตกดับง่าย เพียงแค่หายใจเข้า-ออก
ร่างกายมนุษย์นี้ยังเป็นรังของโรค มีโรคแฝงอยู่ในยีนส์
แฝงอยู่ในเนื้อเยื่ออยู่แล้ว รอแต่วันที่จะกำเริบ
แล้วก็นำความตายมาให้ ร่างกายของ แต่ละคนจึงไม่ต่างกันกับเรือไม้ผุ ที่รอวันพัง
จะขอขยายถึงสาเหตุแห่งการเจ็บป่วยว่ามาจากเหตุ  8 ประการใหญ่ๆ คือ
1.โรคเกิดแต่ดีให้โทษ
2.โรคเกิดแต่เสมหะให้โทษ
3.โรคเกิดแต่ลมให้โทษ
4.โรคเกิดแต่ทั้งดี เสมหะ และลมให้โทษ
5.โรคเกิดแต่ฤดูแปรปรวน
6.โรคเกิดแต่การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่สม่ำเสมอ
7.โรคเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง
8.โรคเกิดแต่วิบากกรรม



เหตุแห่งโรค 4 ประการแรก
โรคเกิดแต่ดีให้โทษ
โรคเกิดแต่เสมหะให้โทษ
โรคเกิดแต่ลมให้โทษ
โรคเกิดแต่ทั้งดี เสมหะ และลมให้โทษ
มีสาเหตุมาจากนิสัยประมาทในการใช้ปัจจัย 4 เป็นหลัก
ไม่รู้จักระมัดระวัง และรู้ประมาณในการใช้สอยปัจจัย 4 เป็นหลัก
ก็จะนำโรคภัยไข้เจ็บมาให้แก่ผู้นั้นYou are what you eat
ส่วนปัจจัยที่เหลืออีก 3 อย่าง ก็ยังใช้สอยด้วยความประมาท
มักง่ายดูเบากันอยู่เช่นเดิม


เหตุแห่งโรคประการที่ 5
โรคเกิดแต่ฤดูแปรปรวน
คือ ประมาทในการศึกษาทำความเข้าใจตนเอง
และสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
ไม่สนใจศึกษาธรรมชาติของร่างกายตนเองให้มากพอ
ประมาทว่าร่างกายนี้จะคงทน
ไม่ระมัดระวังในการเลือกใช้ปัจจัย 4
ให้เหมาะสมในคราวฤดูแปรปรวน
เหตุแห่งโรคประการที่ 6
โรคเกิดแต่การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่สม่ำเสมอ
มาจากนิสัยประมาท ขาดการหาความรู้เกี่ยวกับ
ร่างกายตนเองและมีนิสัยตามใจตนเองเป็นใหญ่
(ร่างกายมนุษย์นี้มีชื่อเต็มๆ ว่า สรีรยนต์ เพราะ
เครื่องยนต์ไม่ว่าชนิดใดๆ จำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหว
ไปในทิศทางต่างๆ ตามที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามที่ถูก
กำหนดไว้ ย่อมเกิดอาการ Over Load คือเกินกำลัง
ของอิริยาบถนั้น แล้วก็จะนำมาซึ่งความเสื่อมโทรม
จะทำให้เจ็บไข้ได้ป่วยโดยง่าย)
เหตุแห่งโรคประการที่ 7
โรคเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง
หากหักโหมเกินไปก็เป็นโทษ การได้กัลยาณมิตรไว้
คอยสะกิดเตือนกันบ้าง ให้รู้จักประมาณก็จะสามารถแก้ไข
ผ่านเหตุแห่งโรคประการที่ 7 ไปได้โดยไม่ยาก
(ไม่เกิดกับคนเกียจคร้าน แต่กลับไปเกิดกับผู้ขยันที่มีปัญญา
เห็นภัยในวัฏฏสงสาร จึงเร่งปรารภความเพียร
เป็นเรื่องที่ควรแก่การอนุโมทนา)
เหตุแห่งโรคประการที่ 8
โรคเกิดแต่วิบากกรรม
หากเกิดขึ้นแก่ผู้ใดแล้ว ก็ยากจะแก้ไขใดๆ ทั้งสิ้น
แต่มีหนทางผ่อนหนักให้เป็นเบาไว้ให้ คือ
เมื่อยังทำอะไรไม่ได้ ก็ให้เร่งทำใจยอมรับความจริง
ว่าเราทำตัวของเราเอง และห้ามไปโทษใครอื่นเด็ดขาดว่าเป็นผู้ทำให้
พร้อมทั้งหักห้ามใจจะไม่ทำกรรมชั่วเช่นนั้นอีก
เมื่อยอมรับผลแห่งอกุศลกรรมนั้นแล้ว ก็ให้ตั้งใจสร้าง
บุญใหม่ทุกชนิดให้เต็มกำลังความสามารถ หากอกุศลกรรม
เก่าไม่มากนัก ย่อมหายได้ แม้ไม่หายก็ผ่อนคลายทุกขเวทนาลง
แม้ที่สุดหากอกุศลกรรมเก่ามากนัก ถึงคราวจักต้องตายก็ไปดี
มีสุคติเป็นที่ไป


จากสาเหตุแห่งโรคทั้ง 8 ประการที่กล่าวมานี้
ย่อมชี้ชัดลงไปว่า โรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายที่รุมเร้ากายมนุษย์
ให้ผุพังเร็วกว่าวัยอันควร ล้วนมีสาเหตุมาจากนิสัยประมาททั้งสิ้น คือ
ประมาทขาดการศึกษาให้ทราบสภาพธรรมชาติแท้จริงของร่างกาย
ประมาทขาดการศึกษาวิธีดูแล วิธีใช้ วิธีซ่อมบำรุงร่างกายนี้ให้คงทน
ประมาทขาดการศึกษาถึงการนำร่างกายนี้ ไปประกอบคุณงามความดี
อย่างคุ้มค่า ให้เกิดเป็นบุญบารมีติดตัวไปในภายภาคหน้า
ขอให้ทุกคนตระหนักในพุทธดำรัสที่ว่า
“การได้เกิดในสภาพร่างกายเป็นมนุษย์เป็นเรื่องยาก
การได้พบพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องยาก
การได้ฟังคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเรื่องยาก
การได้โอกาสบรรลุธรรมก็เป็นเรื่องยาก”
การบรรลุธรรม เราจำเป็นต้องอาศัยร่างกาย
ที่ประกอบด้วยเลือดเนื้อและต้องเป็นร่างกายที่มี
สุขภาพดีด้วย จึงจะมีทางสำเร็จได้


หลวงพ่อทัตตชีโว



โปรดติดตามสาระดีๆ "สุขภาพที่ดี...คุณทำได้...ง่ายๆสบายๆ" ตอนที่ 2 ต่อไปนะคะ



กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงบทความดีๆจากหนังสือ”สุขภาพที่ดีคุณทำได้ ง่ายๆ สบายๆ"
พระธรรมเทศนา โดยหลวงพ่อทัตตชีโว


วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2561

วันออกพรรษาหรือวันมหาปวารณา




Cr.www.dmc.tv


ประวัติความเป็นมาของการทำปวารณาในวันออกพรรษา เกิดขึ้นจากครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี มีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งแยกย้ายกันจำพรรษาอยู่ อารามรอบๆพระนคร พระภิกษุเหล่านั้นเกรงจะเกิดความขัด แย้งกัน จนอยู่ไม่เป็นสุขตลอดพรรษาจึงได้ตั้งกติกากันว่า จะประพฤติมูขวัตร คือการนิ่งไม่พูดจากันตลอด 3 เดือน และได้ถือปฏิบัติกันมาตลอดพรรษา

เมื่อถึงวันออกพรรษาพระภิกษุเหล่านั้นก็ได้พากันเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระเชตะวันมหาวิหาร แล้วกราบทูลเรื่องทั้งหมดให้พระพุทธองค์ทรงทราบ


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตำหนิ และทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันว่าภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้ว ปวารณากันใน  ลักษณะ คือ ด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดีด้วยการสงสัยก็ดี

Cr.www.dmc.tv


ดังนั้นในวันออกพรรษา จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันมหาปวารณา ซึ่งเป็นวันเดียวกันตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ของทุกปีแต่ถือกันคนละความหมายคือ วันออกพรรษา คือวันที่สิ้นสุดของการอยู่จำพรรษา หรือพูดง่ายๆว่า วันสุดท้ายที่ต้องอยู่จำพรรษาในแต่ละปีและพระสงฆ์จะต้อง อยู่ให้ครบอีก 1 ราตรี จึงจะครบถ้วนบริบูรณ์

ส่วนวันมหาปวารณาคือการทำปวารณาครั้งใหญ่ หมายถึงวันที่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปทั้งพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อย ต่างเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกันให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ด้วยจิตที่เมตตา

cr.www.dmc.tv

โดยมีคำกล่าว “ปวารณา” เป็นภาษาบาลีว่า

สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิฯ 


 ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญกระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ หากท่านทั้งหลายได้เห็น ได้ยินหรือสงสัยว่า ผม ได้ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ขอท่านทั้งหลาย โปรดอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน
กระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้วจะประพฤติตัวเสียใหม่ให้ดี


ที่มา : ปกิณณวินัย

การอยู่จำพรรษารวมกันตลอดระยะเวลา 3 เดือน อาจมีข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีไม่งามเกิดขึ้น โดยรู้เท่าไม่ถึงการหรือมองไม่เห็นเสมือนผงเข้าตาตนเอง แม้ผงจะอยู่ชิดติดกับลูกในตาเราก็ไม่สามารถมองเห็นผงนั้นได้

จึงจำเป็นต้องไหว้วานขอร้องผู้อื่นให้มาช่วยดู หรือต้องใช้กระจกส่องดู เพราะฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงใช้วิธีการปวารณา ให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เพื่อพระภิกษุที่ได้เห็นหรือแม้แต่ได้ยินได้ฟังเรื่องไม่ดีไม่งามอะไรก็ตาม ให้กล่าวแนะนำตักเตือนได้ คือ พระผู้มีพรรษามากก็กล่าวตักเตือนพระผู้มีพรรษาน้อยได้ และพระผู้พรรษาน้อยก็สามารถกล่าวชี้แนะถึงข้อบกพร่องของพระผู้มีพรรษามากได้เช่นกัน โดยที่พระผู้มีพรรษามาก ท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมด ทุกอย่างการกล่าวปวารณาเท่ากับเป็นการช่วยระมัดระวังข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีของพระรูปหนึ่งก่อนที่จะลุกลามก่อความเสื่อมเสียไปถึงพระหมู่มากและลุกลามไปถึงพระพุทธศาสนาได้ ท่านจึงใช้วิธีป้องกันไว้ก่อนดี กว่าการแก้ไขในภายหลังการปวารณาที่พระภิกษุทั้งหลาย

จุดมุ่งหมายของการปวารณาคือ

1.เป็นกรรมวิธีลดหย่อนผ่อนคลายข้อขุ่นข้องคลางแคลง ที่เกิดจากความระแวงสงสัยให้หมดไปในที่สุด
2.เป็นทางประสานรอยร้าวที่เกิดจากผลกระทบกระทั่งในการอยู่ร่วมกัน
ให้มีโอกาสกลับคืนดีด้วยการให้โอกาสได้ปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน
3.เป็นทางสร้างเสริมความสามัคคีในหมู่ให้กลมเกลียว อยู่ร่วมกันอย่างสนิทใจ
4.เป็นแนวปฏิบัติให้เกิดความเสมอภาคกันในการแสดงความคิด สามารถว่ากล่าวตักเตือนได้โดยไม่จำกัดด้วยยศ ชั้นพรรษาและวัย
5.ก่อให้เกิดภราดรภาพคือความรู้สึกเป็นมิตรชิดเชื้อปรารถนาดี เอื้อเฟื้ออาทรเป็นพื้นฐานนำไปสู่พฤติกรรมอันพึงประสงค์ที่ดีงามคล้ายๆกัน เรียกว่าศีลสามัญญตา

อานิสงส์ของการปวารณา ได้แก่

1.ทำให้เกิดความบริสุทธิ์ในเพศบรรพชิต ทั้งทางกาย วาจาและใจ เป็นการคลายความสงสัยระแวงให้หมดไปในที่สุด
2.พระภิกษุทุกรูปจะรู้ข้อบกพร่องของตนเองและจะได้ปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น โดยฝึกความอดทนต่อการว่ากล่าวตักเตือนได้เป็นการเปิดใจยอมรับฟังผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้
3.พระภิกษุทุกรูปจะได้ขอคมากันและกัน เพื่อที่จะไม่ถือโทษโกรธเคืองกันในภายหลัง ด้วยความรักและปรารถนาดีและให้อภัยซึ่งกันและกัน จะทำให้อยู่ร่วมกันในหมู่คณะอย่างผาสุก
4.เป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคีในสังฆมณฑลให้เป็นหนึ่งเดียวกัน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนในการทำงานพระพุทธศาสนาเป็นทีม
5.ทำให้คณะสงฆ์มีความเป็นปึกแผ่นแน่นเหนียวยากแก่การถูกทำลายจากผู้ไม่หวังดีต่อพระพุทธศาสนา

การปวารณาจึงเป็นการกระทำเพื่อหวังความเจริญ เพื่อเกิดประโยชน์ทั้งต่อส่วนตัวและส่วนรวมโดยเพื่อนสหธรรมิกด้วยกันเอง ตักเตือนกันเองได้ โดยธรรม






อีก 9 วันก็ถึงวันมหาปวารณาออกพรรษา วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 11
ปีนี้ตรงกับวันพุธที่ 24 ตุลาคม พุทธศักราช 2561 พวกเราเหล่าพุทธบริษัท 4 จะได้ถือโอกาสนี้ปฏิบัติตามธรรมเนียมอันดีงามนี้ โดยการปวารณากับบุคคลข้างเคียงให้สามารถว่ากล่าวตักเตือนได้ เพื่อความบริสุทธิ์บริบูรณ์ในการสร้างบารมี ต่อไปในภายภาคหน้า  






บทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร, 3 จบ ไม่มีบทขัด, ภาพพระมหาธรรมกายเจดีย์
cr.www.dmc.tv


 วันมหาปวารณาออกพรรษา

เรียนเชิญผู้มีบุญทุกท่านร่วมสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ให้ได้788,888,888 จบ เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา
ณ วัดพระธรรมกาย เพื่อยังความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและคนที่เรารัก
รักและปรารถนาดีใครชวนกันมา 
พระพุทธศาสนาเข้มแข็ง เจริญรุ่งเรือง เป็นทั้งที่พึ่ง
ที่ระลึกแก่มวลมนุษย์ชาติตราบนาน เท่านาน
ขอกราบอนุโมทนาบุญ สาธุ



วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561

เหตุแห่งโรคข้อเสื่อม ควรทำอย่างไรให้วิบากเบาบาง



โรคภัยไข้เจ็บนับวันมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นไปตามลำดับความเจริญของโลก เทคโนโลยีเจริญขึ้นมากเท่าใดโรคภัยไข้เจ็บก็เกิดมากขึ้นเหมือนเงาตามตัวฉันนั้น
โรคภัยไข้เจ็บบางโรคก็หาสาเหตุและหาวิธีการรักษาเจอ
บางโรคก็สามารถป้องกันไม่ให้มันเกิดได้
บางโรคเวลาเป็นแล้วก็หาวิธีรักษาจนหายขาดได้
บางโรคเกิดแล้วรักษาอย่างไรก็ไม่หายและไม่สามารถหาวิธีป้องกันโรคได้
บางโรคก็ไปแส่หามาเอง ทุกโรคล้วนมีที่มาที่ไป มีเหตุและมีผลรองรับ คือ
ล้วนมาจากการกระทำที่ตนทำไว้ทั้งสิ้น
ปัจจุบันมีโรคต่างๆมากมายที่เกิดขึ้น เรามาศึกษาถึงโรคภัยต่างๆมีโรค
อะไรบ้างมาดูกันเลย(คลิก)แหล่งรวมข้อมูลโรงพยาบาลและแพทย์

แต่ขอยกตัวอย่างเกี่ยวกับโรคข้อเสื่อม เรามาศึกษากันดูถึงสาเหตุแห่งโรคและวิธีการป้องกัน

ยุคไอทีเป็นยุคที่ทำงานแข่งกับเวลา ทำอะไรท่าเดิมๆบางทีทำจนลืมดูเวลาเงยหน้ามาอีกทีก็หมดเวลาไปแล้วหนึ่งวัน สรีระยนต์ร่างกายของมนุษย์เราถูกใช้ไปอย่างถล่มทะลาย   


โรคข้อเสื่อม
ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นโรคข้อเรื้อรังที่พบมากที่สุด พบบ่อยที่ข้อเข่า ข้อมือ และข้อสะโพก พบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป เพศหญิงพบมากกว่าเพศชาย การเสื่อมของ ข้อจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ การดำเนินโรคใช้ระยะเวลานานหลายปีกว่าจะเริ่มแสดงอาการปวด 

โรคข้อเสื่อม แก้ไขต้นเหตุได้ด้วยกลูโคซามีน ซัลเฟต
Spine =  กระดูกสันหลัง
Hip    =  สะโพก
Knee  =  เข่า
Foot   =  เท้า
Hand  =  มือ

โรคข้อเสื่อมเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ข้อเสื่อมเกิดจากการที่กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและทางชีวกลศาสตร์ภายในข้อและภายในร่างกาย ทำให้ไม่สามารถซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อได้ทันกับการถูกทำลาย เนื่องจากกระดูกอ่อนผิวข้อมีเลือดมาเลี้ยงน้อย เซลล์กระดูกอ่อนได้รับสาร อาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถสังเคราะห์สารต่างๆที่จำเป็นในการซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อได้ ส่งผลให้ข้อที่เสื่อมไม่สามารถรับน้ำหนักที่เกิดจากการทำกิจวัตรประจำวันได้ 
กระดูกอ่อนผิวข้อนอกจากมีเลือดมาเลี้ยงน้อยแล้วยังไม่มีเซลล์ประสาทรับความรู้สึกเจ็บ ปวดอยู่ด้วย ผู้ที่มีข้อเสื่อมในระยะแรกจึงไม่เกิดอาการปวดจนกว่าข้อที่เสื่อมจะเกิดกระบวนการในการอักเสบ มีหลอดเลือดและเส้นประสาทงอกเข้าไป หรือผิวข้อสึกรุนแรงมากจนถึงเนื้อกระดูกใต้กระดูกอ่อนผิวข้อ ผู้ป่วยจึงจะเกิดอาการปวด



โรคข้อต่างๆเสื่อม


อะไรคือปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเสื่อม?

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดข้อเสื่อมหรือทำให้โรคลุกลามมากขึ้นได้แก่ อายุ เพศหญิง กิจกรรมที่ทำให้ข้อรับน้ำหนักมาก โรคอ้วน เคยได้รับบาดเจ็บที่ข้อนั้นๆมาก่อน
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดข้อ (เข่า สะโพก มือ) เสื่อมหรือทำให้โรคลุกลามมากขึ้นได้แก่
อายุ ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมมาก
เพศหญิง มีโอกาสเกิดข้อเสื่อมมากกว่าเพศชาย
ระดับการทำกิจกรรมในแต่ละวันสูง การเล่นกีฬาที่ทำให้เกิดแรงกระทำต่อข้อมาก
โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
เคยได้รับบาดเจ็บที่ข้อนั้นๆมาก่อน
แนวกระดูกที่ประกอบเป็นข้อผิดรูป เช่น มีเข่าโก่งกรรมพันธุ์
เยื่อบุข้ออักเสบเรื้อรัง ข้อต่างๆสม่ำเสมอ และ นั่ง นอน เดิน ลุกขึ้น ยกของ ให้ถูกวิธี โดยขอคำปรึกษาวิธีการที่ถูกต้องจาก แพทย์ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ พยาบาล และ/หรือ นักกายภาพบำบัด

ข้อเสื่อม พบบ่อยที่ ข้อเข่า ข้อมือ และข้อสะโพก พบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป เพศหญิงพบมากกว่าเพศชาย สาเหตุข้อเสื่อมเกิดจากการที่กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและชีวกลศาสตร์ภายในข้อและร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อได้ทัน ส่งผลให้ข้อที่เสื่อมไม่สามารถรับน้ำหนักที่เกิดจากการทำกิจวัตรประจำวันได้



แพทย์แนะอย่าด่วนผ่าตัด ‘ข้อเสื่อม’ ใช้วิธีชะลออาการก่อนตัดสินใจ


ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเป็นสำคัญ อาจมีเสียงลั่นในข้อ ข้อติด บวม เคลื่อนไหวข้อลดลง
การรักษาเบื้องต้นที่สำคัญได้แก่ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวดเช่น การนั่งยอง คุกเข่า ขัดสมาธิ พับเพียบ งดเว้นกิจกรรมหรือเล่นกีฬาที่ทำให้เกิดแรงกระทำต่อข้อมากๆ กินยาแก้ปวดเช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)

ควรไปพบแพทย์ ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ ข้อบวมมาก ข้อติด เนื่องจากกระดูกอ่อนผิวข้อหลุดออกมาเป็นชิ้นเข้าไปแทรกระหว่างข้อ อาการปวดไม่บรรเทา หรือรุนแรงมากขึ้น ข้อผิดรูปเช่นเข่าโก่ง

วิธีการรักษาขึ้นกับความรุนแรงของโรค ประกอบด้วยการรักษาที่ไม่ใช้ยา การรักษาด้วยยากิน หรือยาฉีด และการผ่าตัด 

Cr.ศ.นพ.กิตติ จิระรัตนโพธิ์ชัย ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์



ในทางพระพุทธศาสนา เหตุที่มาแห่งโรคภัยไข้เจ็บและความเสื่อมที่เกิดแก่เราเกิดขึ้นเพราะมนุษย์เรายังรักษาศีล 5 ให้เป็นปกติไม่ได้ หรือบางคนไม่รู้จักว่าศีล 5 คืออะไร มีกี่ข้อนั่นเอง 

อานิสงส์ในการรักษาศีล 5 ได้อะไรบ้างมาดูกัน



ในทางพระพุทธศาสนาวิธีแก้ไขวิบากกรรมปวดข้อปวดกระดูก ง่ายๆเพียงเรา



เข้าวัดบำเพ็ญบุญ ทำทาน รักษาศีลและเจริญสมาธิภาวนาเติมบุญให้ตนเอง


เติมบุญเติมบารมีด้วยการหมั่นเข้าวัดบำเพ็ญบุญ ทำทาน รักษาศีล5ให้เป็นปกติ วันโกนวันพระก็ไปวัดอาราธนาศีล8 และหมั่น เจริญสมาธิภาวนา  เลิกเบียดเบียนสัตว์ ปล่อยสัตว์ปล่อยปลาปล่อยโคให้ชีวิตสัตว์เป็นทานให้เป็นนิตย์ ด้วยผลบุญที่เราทำนี้จะไปตัดรอนวิบากกรรมให้หนักเป็นเบา ที่เบาก็จะหายไป ได้เจอหมอดียาดี ในที่สุดสุขภาพเราก็แข็งแรงโรคภัยไข้เจ็บมลายหาญสูญ บุญศักดิ์สิทธิ์เกื้อกูลชีวิตเราก็บริบูรณ์ตลอดไป



                                                                           Cr.pantip.com





ดังพุทธพจน์ว่า

อโรคยา ปรมาลาภา.
ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ.




วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561 วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย เรียนเชิญทุกท่านร่วมพิธีบุญใหญ่ไหว้ครูวิชชาธรรมกายในวาระครบรอบ 101 ปี ในการค้นพบวิชชาธรรมกาย พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร)และร่วมสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรให้ได้ 711,101,101 จบ







 เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา และบูชาธรรมพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร)ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ณ วัดพระ-ธรรมกาย ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ทำที่ท่านได้ที่เรา 


บทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร, 3 จบ ไม่มีบทขัด, ภาพพระมหาธรรมกายเจดีย์


ขอกราบอนุโมทนาบุญล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ สาธุ




ขอขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล
โรคข้อเสื่อม รูปภาพประกอบ
ภาพปล่อยโค รูปภาพประกอบ
ภาพปล่อยปลา รูปภาพประกอบ

ประโยชน์ที่ได้รับ...จากการทำสมาธิ

    สมาธิก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง บางคนหากไม่ได้สังเกตก็อาจไม่ทันรู้ตัวว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั้นเป็นผลมาจากสติปั...