ปุราณอักษระโบราณ มนตราแห่งอักขระโบราณ
ตอน
จะ ภะ กะ สะ
อักขระในธงกฐิน
เนื่องด้วยช่วงนี้เข้าฤดูกาลกฐิน
หลวงพี่จึงมีเรื่องราวของธงกฐินมาฝาก
ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาคือเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อด้วยเหตุและผล
ความเชื่อนั้นเรียกว่าศรัทธาในทางพระพุทธศาสนา ศรัทธามี 4 ประการ
1.เชื่อเรื่องของกรรม
2.เชื่อเรื่องผลแห่งกรรม
3.เชื่อความที่สัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน
4.เชื่อความตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ธงกฐินนี้
มีอยู่ทั้งหมด 4 ประเภท
1.ธงจระเข้
2.ธงตะขาบ
3.ธงนางมัจฉา
4.ธงเต่า
เรามาดูกันนะครับว่า ธงแต่ละอย่าง มีปริศนาธรรมและคติธรรมอย่างไรบ้าง
ธงที่ 1 คือ ธงจระเข้
ธงจระเข้นี้ เปรียบเสมือนความโลภ
จระเข้เป็นสัตว์ปากใหญ่กินไม่อิ่ม จึงเปรียบเสมือนกับความโลภที่ครอบงำจิตใจคน
ให้เข้าหาผลประโยชน์
ธงจระเข้นี้มีปริศนาธรรมแฝงไว้ว่า ถ้าวัดใดปักธงจระเข้ไว้ ก็เป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่าวัดนี้ได้มีการทอดกฐินแล้ว เพื่อให้ศรัทธาญาติโยมเราได้รู้ว่าวัดได้ทอดกฐินเรียบร้อยแล้ว และจะได้ตั้งจิตอนุโมทนาในบุญกุศลอันเกิดจากบุญกฐินที่ได้ทอดถวายวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ธงที่ 2 ธงตะขาบ
เปรียบเสมือนความโกรธ เพราะตะขาบมีพิษที่เผ็ดร้อน เข้าแผดเผาจิตให้เร่าร้อน เป็นสัญลักษณ์บอกให้รู้ว่าวัดนี้ได้มีคนมาปวรณาจองกฐินเรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นสัญลักษณ์บอกให้ผู้ประสงค์จะจองกฐินผ่านไปวัดอื่นได้เลย
ธงที่ 3 ธงนางมัจฉา
เป็นธงรูปหญิงสาวบนผืนผ้า เปรียบเสมือนความหลงความงามของหญิงสาว ทำให้เกิดความหลงความเคลิบเคลิ้มในความงาม ซึ่งมีความเชื่อว่า การถวายผ้าแด่ภิกษุสงฆ์จะทำให้ได้รับอานิสงส์ คือทำให้มีรูปงาม
ธงที่ 4 ธงเต่า
เต่าเป็นสัตว์ที่มีกระดองแข็งเอาไว้คอยคุ้มครองป้องกันภัยในยามที่ถูกคนหรือสัตว์อื่นรังแก
ท่านจึงอุปมาเต่าดุจสติ ที่ใช้ในการสำรวมระวังจิตไม่ให้ถูกกิเลสเข้าครอบงำ
ทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ซึ่งจะอาศัยช่องเข้ามากระทบให้กระเทือนจิต
ธงเต่านี้มีสัญลักษณ์เครื่องหมายบอกให้รู้ว่า วัดนี้ได้มีการทอดกฐินไปแล้ว
จะปลดธงลงในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 เป็นประจำทุกปี
ในบรรดาธงกฐินทั้ง 4 นี้จะมีการจาลึกอักขระของวิธีลงไป ซึ่งต่างคณาจารย์ ต่างเกจิอาจารย์ ต่างวัด
ท่านก็จะลงอักขระต่างๆ กันไป แต่ส่วนใหญ่จะนิยมลงในเรื่องของพุทธคุณ
ในด้านเมตตามหานิยม เมตตาค้าขาย ทำให้เกิดความเจริญงอกงาม
ส่วนคำที่จะนำเสนอในวันนี้คือ คำว่า จะ
ภะ กะ สะ ซึ่งจะนำเสนอเป็นอักขระวิธีที่ใช้เขียนในธงกฐิน
คำว่า จะ นี้ มาจากคำว่า จะชะทุชชะนะสังสะฆัง
แปลว่า หลีกเลี่ยงการคบหาคนพาล คือ คนที่คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว
คำว่า ภะ มาจากคำว่า ภะชะสาธุ
สมาฆะมัง แปลว่า คบบัณฑิต ที่เขาคิดดี พูดดี ทำดี หมั่นเข้าหาครูบาอาจารย์
คำว่า กะ มาจากคำว่า กะระ ปุญญะ
มโหระตัง แปลว่า หมั่นทำความดี คือ บุญทั้งกลางวันกลางคืน เสมอต้นเสมอปลาย
คำว่า สะ มาจากคำว่า สะระ นิจจะ มะนิจจะตัง
แปลว่า ระลึกถึงความไม่เที่ยงเป็นนิจ เพราะชีวิตไม่แน่นอน
พระธรรมเทศนาพระมหาปิยะวัฒน์
ธมฺมตฺถธีโร
จากปุราณอักษรา...มนตราแห่งอักขระโบราณ
DCI Channel
จากพระธรรมเทศนานี้ เชื่อมั่นว่าความรู้ที่ได้รับในวันนี้ จักเป็นประโยชน์แก่เราบ้าง ไม่มากไม่น้อยเอาไว้ติดขาติดแข้งกันนะคะ
บุญทอดกฐินสามัคคีที่เราพุทธศาสนิกชน ได้ร่วมกันทอดถวายทุกวัด เพื่อพระที่ได้อยู่จำพรรษาครบไตรมาสได้รับอานิสงส์กฐิน และไม่มีกฐินตกค้างทุกวัดทั่วทั้งแผ่นดินไทย เป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาที่สำคัญ และเพื่อเสริมบุญบารมีให้แก่ตัวเราเอง
พิธีทอดกฐินสามัคคีวัดพระธรรมกาย
วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พุทธศักราช 2563
ท้ายที่สุดนี้ เหลือเวลาอีก 4 วันก็จะหมดเทศกาลทอดกฐินสามัคคีแล้ว
เราพุทธศาสนิกชน ผู้เป็นบัณฑิตอุดมไปด้วยศีลสมาธิและปัญญา พึง
ขวนขวายในกิจที่ชอบประกอบด้วยกุศล ด้วยการไปร่วมพิธีทอดกฐินสามัคคี ยังวัดที่ตั้งใจจะนำผ้ากฐินไปทอดถวายกัน ให้ครบทั้งผืนแผ่นดินไทยกันเลย
ด้วยอานิสงส์แห่งบุญนี้ จักทำให้ชีวิตเราทุกคนประสบ แต่ความสุขและความเจริญ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ไวรัสโควิด - 19 จะต้องหมดไปจากโลกนี้ สังคมประเทศชาติร่มเย็นเป็นสุขโดยถ้วนหน้า
การสั่งสมบุญนำสุขมาให้
บุญอยู่เบื้องหลังความสุขและความสำเร็จทั้งมวล
ขอกราบอนุโมทนาบุญต่อคณะศรัทธาสาธุชน ยอดกัลยาณมิตรมหา
เศรษฐีผู้ใจบุญทุกท่านทั่วทั้งแผ่นดินไทยและทั่วโลกมา ณ โอกาสนี้
สาธุค่ะ
ขอกราบขอบพระคุณที่มาแห่งความสมบูรณ์ของบลอค :
พระธรรมเทศนา โดยพระมหาปิยะวัฒน์ ธมฺมตฺถธีโร
เรื่องปุราณอักษรา...มนตราแห่งอักขระโบราณ Ep.4 เพจ DCI Channel
ภาพประกอบ เพจพระคุ้มครอง