การทอดผ้า คือการวางผ้าด้วยความเคารพ
เดิมทีเดียว “การทอดผ้าป่า” เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลยในยุคต้นๆ ของสมัยพุทธกาล เหตุเพราะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุรับ “คฤหบดีจีวร” หรือ “จีวรที่มีผู้ถวายโดยตรง”
แต่ก่อนที่จะได้ไปทำบุญทอดผ้าป่านี้ เราก็ควรที่จะศึกษาประวัติความเป็นมาของการทำบุญทอดผ้าป่ากันก่อนว่า ผู้ที่เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์แห่งการทอดผ้าป่าหรือทอดผ้าบังสุกุลท่านแรกนั้นเป็นผู้ที่ไม่ธรรมดา เพราะเนื่องจากเธอเป็นถึงเทพธิดาที่อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่มีนามอันไพเราะว่า “เทพธิดาชาลินี”
เรื่องก็มีอยู่ว่า ในวันหนึ่ง "พระอนุรุทธะเถระ" ผู้มีจีวรเก่าได้กำลังเที่ยวแสวงหาเศษผ้าจากกองหยากเยื่อ ต่างๆ เพื่อเอาไปทำจีวร ขณะที่พระอนุรุทธเถระกำลังเที่ยวแสวงหาเศษผ้าอยู่นั้นเทพธิดาชาลินีก็ได้ไปเห็นเข้า เธอจึงตั้งใจว่าจะเอาผ้าทิพย์ 3 ผืน ยาว 13 ศอก กว้าง 4 ศอก น้อมถวายแด่ท่าน แต่แล้วเธอก็กลับฉุกคิดในใจได้ว่า “ถ้าเราจะถวายโดยตรงพระเถระก็จะไม่รับ” เนื่องจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้รับ เทพธิดาชาลินีจึงได้น้อมนำเอาผ้าทิพย์ของเธอไปใส่ไว้ในกองหยากเยื่อ บริเวณที่พระอนุรุทธเถระท่านเดินผ่านพอดี และเธอก็ตั้งใจให้ชายผ้าทิพย์โผล่พ้นออกมาให้ดูเห็นง่ายๆ ทำให้พระอนุรุทธเถระท่านได้เห็นผ้าทิพย์ ท่านก็จับที่ชายผ้าแล้วดึงขึ้นมาเพื่อนำไปทำจีวรต่อไป
เหตุการณ์เป็นเช่นนี้ที่เป็นจุดเริ่มต้น จึงทำให้ผู้ใจบุญในสมัยพุทธกาลเกิดความคิดที่จะทำตามแบบเทพธิดาชาลินี ด้วยการจงใจนำผ้า ไปไว้ตามที่ต่างๆ เช่น ที่ต้นไม้, ตามกองขยะ, กองหยากเยื่อ, ในป่า หรือตามข้างทาง เป็นต้น สถานที่จะวางผ้าทิ้งไว้นั้นผู้ใจบุญเห็นแล้วว่าพระภิกษุสงฆ์จะต้องเดินผ่าน เมื่อมีพระภิกษุเดินไปพบผ้าดังกล่าวท่านก็จะหยิบและนำผ้า ไปทำเป็นจีวร เพราะถือว่าเป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของซึ่งผ้าชนิดนี้จะเรียกว่า “ผ้าป่า” เพราะเอามาจากป่า หรือ “ผ้าบังสุกุล” ที่แปลว่า ผ้าเปื้อนฝุ่นนั่นเอง
สำหรับประวัติพิธีทอดผ้าป่าในเมืองไทย
พิธีทอดผ้าป่าได้เริ่มจัดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ด้วยทรงพระประสงค์จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระพุทธศาสนาไว้ให้พสกนิกรผู้อยู่ใต้พระบารมีของพระองค์
ความจริงแล้ว การทอดผ้าป่ามีอยู่อย่างเดียว คือการนำผ้าไปทิ้งไว้ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ในปัจจุบันนิยมทำในรูปแบบต่างๆ แตกต่างกันไป จึงมีชื่อเรียกเป็น 3 อย่าง คือ
1.ผ้าป่าหางกฐิน หรือ ผ้าป่าแถมกฐิน
2.ผ้าป่าโยง
3.ผ้าป่าสามัคคี
พิธีทอดผ้าป่า
ให้ผู้เป็นเจ้าภาพไปแจ้งความประสงค์แก่เจ้าอาวาส ที่ต้องการจะนำผ้าป่ามาทอด เรียกว่าเป็นการจองผ้าป่าเมื่อกำหนดเวลาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการตั้งองค์ผ้าป่า ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะต้องมีก็คือ
1.ผ้า
2.กิ่งไม้สำหรับพาดผ้า
3.ให้อุทิศถวายพระรูปใดรูปหนึ่ง
การตั้งองค์ผ้าป่า
เจ้าภาพจะจัดหาผ้าสำหรับพระภิกษุมาผืนหนึ่ง อาจเป็นสบง จีวร สังฆาฏิ หรือทั้ง 3 อย่าง แล้วแต่ศรัทธาเพราะไม่มีข้อกำหนด นำกิ่งไม้ไปปักไว้ในภาชนะขนาดพอสมควร เพื่อใช้เป็นที่พาดผ้าป่า และใช้สำหรับนำสิ่งของเครื่องใช้ที่จะถวายพระ เช่น ปัจจัยสี่ ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม สำหรับปัจจัยนั้นนิยมเสียบไว้กับกิ่งไม้ในกองผ้าป่านั้น
บุญทอดผ้าป่าถือเป็น “มหาสังฆทาน” คือ เป็นการถวายทานที่ไม่ เจาะจงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นบุญที่จัดเป็นสังฆทาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า มีอานิสงส์มากกว่าการถวายแบบ “ปาฏิปุคคลิกทาน” คือการถวายทานจำเพาะเจาะจงแด่พระองค์รูปเดียว
บุญทอดผ้าป่าถือเป็น “มหาสังฆทาน” คือ เป็นการถวายทานที่ไม่ เจาะจงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นบุญที่จัดเป็นสังฆทาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า มีอานิสงส์มากกว่าการถวายแบบ “ปาฏิปุคคลิกทาน” คือการถวายทานจำเพาะเจาะจงแด่พระองค์รูปเดียว
บุญทอดผ้าป่าถือเป็นบุญที่สามารถทำได้ทุกฤดูกาล และที่สำคัญ วัดๆ หนึ่งจะจัดให้มีการทำบุญทอดผ้าป่ากี่ครั้งต่อปีก็ได้ สำคัญบุญทอดผ้าป่านั้นเป็นบุญที่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ถ้าหากไม่มีการบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์แล้วเราก็ไม่มีโอกาสได้ทำบุญทอดผ้าป่านั่นเอง
1.เป็นการสงเคราะห์พระสงฆ์ให้สะดวกด้วยปัจจัยสี่ หรือสิ่งที่จำเป็นในการครองสมณเพศ
มีจีวร หรือผ้านุ่งห่ม เป็นต้น
2.เป็นการช่วยเหลือทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
เพราะเมื่อพระสงฆ์ได้รับความสะดวกตามสมควรก็จะได้เป็นกำลังสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
3.ได้ชื่อว่าเป็นการถวายทานแด่ท่านผู้ทรงศีล
ซึ่งนับเป็นการบูชาท่านผู้ทรงศีล-บูชาท่านผู้ควรบูชา และเป็นทานที่มีคุณค่าสูง
4.เป็นการอบรมจิตใจของผู้บริจาคให้มีการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมคือพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นหลักทางจิตใจของประชาชนในชาติสืบไป
5.เป็นการส่งเสริมความมีสามัคคีธรรมของหมู่คณะ
6.เป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีความมั่นคง เป็นปึกแผ่นสืบไป
สรุป ผลแห่งบุญทั้งหมดก็จะช่วยเสริมส่งให้ชีวิตในปัจจุบันของเรา ไปแบบสุดๆ คือ รวยแล้ว รวยอีก รวยขึ้นไปแบบไม่มีที่สิ้นสุดนั่นเอง ด้วยผลแห่งบุญจากการทอดผ้าป่านี้ ยังจะไปช่วยตัดรอนผังแห่งความตระหนี่ที่มีอยู่ในใจของพวกเราทุกคนให้ออกไปอีกด้วย ซึ่งผังแห่งความตระหนี่นั้นถือว่าเป็นอันตรายต่อชีวิตของเรามากๆ เพราะจะทำให้ชีวิตของเราพบกับความลำบากยากจน ถ้าผังแห่งความตระหนี่หนาแน่นมากเท่าไหร่ ชีวิตของเราก็จะยิ่งยากจนข้นแค้นมากขึ้นไปเท่านั้น
cr.www.dmc.tv
แต่พอเราได้ทำบุญทอดผ้าป่าเป็นสังฆทาน บุญนี้ก็จะไปช่วยกำจัดผังแห่งความตระหนี่ที่ทำให้การยากจนนั้นออกไป จากหนักก็จะค่อยๆ เบาบาง เจือจางลงไปเรื่อยๆ เมื่อผังแห่งความตระหนี่หมดไป พวกเราทุกคนก็จะรวยจนไม่มีโอกาสได้รู้จักกับคำว่ายากจนอีกเลย และจะทำให้ชีวิตของเราเปลี่ยนจากคนยากจนมาเป็นคนจนยาก จากคนมีมั่ง ไม่มีมั่ง มาเป็นคนมั่งมีอย่างมั่งคั่ง คือ พวกเราทุกคนจะรวยแบบไม่มีโอกาสได้รู้จักกับคำว่ายากจนอีกเลย เหมือนอย่างเจ้าชายอนุรุทธะที่ไม่รู้จักกับคำว่า “ ไม่มี “ ตราบกระทั่งบรรลุมรรคผลนิพพาน
วันธรรมชัยวันแห่งชัยชนะโดยธรรม วันจันทร์ที่ 27สิงหาคม พ.ศ.2561 ครบรอบปีที่ 50 ของการเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัตร์ของหลวงพ่อธัมมชโย ณ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
เรียนเชิญลูกศิษย์วัดพระธรรมกายทั่วโลกและผู้มีบุญทุกท่าน ร่วมพิธีทอดผ้าป่าบำรุงวัดพระธรรมกายและเป็นส่วนหนึ่งในการอัญเชิญผ้าป่าและร่วมสวดธรรมจักรให้ได้662ล้านจบ เพื่อน้อมนำบุญถวายเป็นพุทธบูชาและบูชาธรรมพระผู้มีชัยชนะโดยธรรม
เรียนเชิญลูกศิษย์วัดพระธรรมกายทั่วโลกและผู้มีบุญทุกท่าน ร่วมพิธีทอดผ้าป่าบำรุงวัดพระธรรมกายและเป็นส่วนหนึ่งในการอัญเชิญผ้าป่าและร่วมสวดธรรมจักรให้ได้662ล้านจบ เพื่อน้อมนำบุญถวายเป็นพุทธบูชาและบูชาธรรมพระผู้มีชัยชนะโดยธรรม
ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของศิษย์ดี
ศิษย์ดีต้องมีความกตัญญู
ขอกราบอนุโมทนาบุญ สาธุค่ะ
ขอขอบคุณ(ข้อมูลเพิ่มเติม)
ผ้าป่าโยง
ผ้าป่าสามัคคี
ภาพพิธีบุญทอดผ้าป่า
วันธรรมชัยวันแห่งชัยชนะโดยธรรม
ทบทวนฝันในฝัน วันที่ 16 พย. 54 พิธีทอดผ้าป่า และประวัติความเป็นมาของการทำบุญทอดผ้าป่า