วันวิสาขบูชา Vesak Day
วันสำคัญสากลของโลก
วันวิสาขบูชา เหตุใดจึงเป็นวันสำคัญสากลของโลก
วันวิสาขบูชา องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลก โดยเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 54 ได้พิจารณาระเบียบวาระที่ 174 International recognition of the Day of Visak
ระบุว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดศาสนาหนึ่งของโลก ที่ได้หล่อหลอมจิตวิญญาณของมนุษยชาติมานาน ควรที่จะยกย่องกันทั่วโลก จึงประกาศให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคม เป็นวันสำคัญสากลนานาชาติ (International Day)
เทศกาลเฉลิมฉลองงานวิสาขบูชา'61 ค่ำเสาร์12 พฤษภาคม2561
บันทึกหน้าประวัติศาสตร์ครั้งใหญ่ที่เกาหลีใต้...ขบวนอัญเชิญพระประธานประดิษฐานที่ #วัดภาวนากรุงโซล
Cr. LotusLanternFestival님의 실시간 스트리밍
โดยการเสนอของประเทศศรีลังกา และมีมติเป็นเอกฉันท์ในที่ประชุมสมัชชาครั้งนี้ โดยให้เหตุผลว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนา
เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยไม่คิดค่าตอบแทน ในการพิจารณาประธานสมัชชาฯ ครั้งนั้นได้เชิญผู้แทนจากประเทศศรีลังกาขึ้นกล่าวนำเสนอร่างข้อมติ และเชิญผู้แทนไทย พม่า สิงคโปร์ บังคลาเทศ ภูฐาน เนปาล ปากีสถาน อินเดีย สเปนขึ้นกล่าวถ้อยแถลง
วันวิสาขบูชา คำว่า “วิสาขะ” นั้น เป็นภาษาบาลีแปลว่า เดือน 6 ส่วนในภาษาสันสกฤตเรียกว่า “ไวศาขะ” พระพุทธศาสนาในประเทศไทยเรียกเป็นภาษาบาลีว่า วิสาขะ
วิสาขบูชาคือการบูชาในเดือน 6 ศรีลังกาเรียกว่า วีสัค หรือ เวสัค (Vesak) จนกลายเป็นชื่อภาษาอังกฤษติดปากว่า Vesak หรือ Vesak Day อีกทั้งองค์การสหประชาติประกาศยอมรับวันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก โดยใช้คำแทนวันวิสาขบูชาว่า Vesak ตามชาว
ศรีลังกา
ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ แถบเอเชียอาคเนย์จะจัดฉลองในวันวิสาขบูชาหรือวันเพ็ญกลางเดือน 6 คือ เดือนวิสาขะ แต่ในประเทศอื่นที่เป็นนิกายมหายาน เช่น ญี่ปุ่น จะไม่ฉลองวันวิสาขบูชาในเดือน 6 เพราะวันวิสาขบูชาของนิกายมหายานตรงกับวันเพ็ญกลางเดือน 8 ประเทศญี่ปุ่นกำหนดวันวิสาขบูชาตรงกับวันที่ 8 เมษายนของทุกปี
ปฏิทินสุริยคติ บางนิกายในบางประเทศไม่ได้กำหนดวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้าในวันเดียวกัน ประเทศที่นับถือมหายานถือว่าพระพุทธเจ้าประสูติวันหนึ่ง ตรัสรู้วันหนึ่ง
และปรินิพพานอีกวันหนึ่ง เช่นประสูติวันที่ 8 เมษายน ตรัสรู้วันที่ 8 ธันวาคม และปรินิพพานวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เราจึงเห็นได้ว่าในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนามหายาน จะถือเอาวันสำคัญที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าแตกต่างกันออกไป
การที่องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดวันวิสาขบูชาตรงกับวันเพ็ญกลางเดือน 6 จึงเป็นการกำหนดตามแบบพระพุทธศาสนาเถรวาท และในภาษาของสหประชาชาติจึงไม่เรียกวันเพ็ญกลางเดือน 6 เพราะเดือน 6 เป็นจันทรคติ สหประชาชาติ ใช้คำว่า วันเพ็ญเดือนพฤษภาคม
ดังนั้น ถ้าวันเพ็ญกลางเดือนตรงกับวันใดในเดือนพฤษภาคม สหประชาชาติถือว่าวันนั้นเป็นวันวิสาขบูชา
สรุปความได้ว่า วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ให้มวลมนุษย์มีเมตตาธรรมและขันติธรรมต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่)
วันประสูติ
เช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่าง
กรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ
กรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ
วันตรัสรู้
เช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ภายหลังจากการออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
ภาพ Cr.kapook
วันปรินิพพาน
ภายหลังจากการตรัสรู้ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงออกประกาศพระธรรมวินัย และโปรดเวไนยสัตว์เป็นเวลา 45 ปี เมื่อมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา พระองค์ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ปัจจุบันอยู่ในเมืองกุสีนคระ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
ประวัติที่มาของวันวิสาขบูชาในประเทศไทย
วันวิสาขบูชา ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่าได้รับแบบแผนมาจากลังกาเมื่อประมาณ พ.ศ. 420 โดยพระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนากับกรุงลังกาอย่างใกล้ชิด จะเห็นได้ว่ามีพระสงฆ์จากกรุงลังกาหลายรูปเดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาและนำการประกอบพิธีวิสาขบูชาเข้ามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย ซึ่งการปฏิบัติพิธีวิสาขบูชาในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น ได้มีการบันทึกเอาไว้ในหนังสือ นางนพมาศ สรุปใจความได้ว่า (คลิก)Cr. : sanook.com
วันวิสาขบูชาสากลโลก
อังคารที่ 29 พฤษภาคม พุทธศักราช 2561
วัดพระธรรมกาย
ได้จัดให้มีพิธีกรรมงานบุญสำคัญ
อังคารที่ 29 พฤษภาคม พุทธศักราช 2561
วัดพระธรรมกาย
ได้จัดให้มีพิธีกรรมงานบุญสำคัญ
ฉลองชัยชิตังเม สวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ครบ 511,111,111 จบ
ณ พระมหาธรรมกายเจดีย์ พระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าล้านพระองค์
ขอเรียนเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่านร่วมพิธี
ณ วัดพระธรรมกายหรือวัดใกล้บ้าน
โดยพร้อมเพรียงกัน
ณ วัดพระธรรมกายหรือวัดใกล้บ้าน
โดยพร้อมเพรียงกัน
ความกตัญญูกตเวทิตาคุณเป็นเครื่องหมายของคนดี คนดีต้องมีความกตัญญู วันวิสาขบูชานี้เราพุทธศาสนิกชนจักได้มีโอกาสแสดงความกตัญญูกตเวทิตาคุณต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เข้าวัดบำเพ็ญบุญ ทำทาน รักษาศีลและเจริญสมาธิภาวนา สวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา รักและปรารถนาดีกับใครชวนกันไปเข้าวัดบำเพ็ญบุญ ชีวิตเราและบุคคลอันเป็นที่รักจักได้ประสบแต่ความสุขและความเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆขึ้นไป
เพราะบุญอยู่เบื้องหลังความสุขและความสำเร็จทั้งมวล
ทำที่ท่านได้ที่เรา
ขอกราบอนุโมทนาบุญ สาธุค่ะ
เพราะบุญอยู่เบื้องหลังความสุขและความสำเร็จทั้งมวล
ทำที่ท่านได้ที่เรา
ขอกราบอนุโมทนาบุญ สาธุค่ะ